Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19941
Title: การใช้กิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดและคุณค่าตราสินค้า
Other Titles: Music events for marketing and brand equity
Authors: อรชุมา นิลวงศ์
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด
ดนตรี
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาด ที่มีต่อคุณค่าตราสินค้าในมุมมองของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงสำรวจซึ่งศึกษากิจกรรมดนตรี 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการแข่งขันร้องเพลงทรูอคาเดมี่แฟนเทเซีย เทศกาลดนตรีฤดูร้อนฮอนด้าซัมเมอร์ เฟส และคอนเสิร์ตกรีนสเปซวันเวิร์ลปาร์ตี้ของไฮเนเก้น ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้กิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดของการแข่งขันร้องเพลงทรูอคาเดมี่แฟนเทเซียในระดับมาก ในขณะที่มีการรับรู้เกี่ยวกับเทศกาลดนตรีฤดูร้อนฮอนด้า ซัมเมอร์เฟส และคอนเสิร์ตกรีนสเปซวันเวิร์ลปาร์ตี้ในระดับน้อย ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดของกลุ่มตัวอย่างพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มตัวอย่างชมการแข่งขันร้องเพลงทรูอคาเดมี่แฟนเทเซียทางโทรทัศน์ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้กิจกรรมการแข่งขันร้องเพลงทรูอคาเดมี่แฟนเทเซียมีความสัมพันธ์กับคุณค่าตราสินค้า และการรับรู้เกี่ยวกับคอนเสิร์ตกรีนสเปซวันเวิร์ลปาร์ตี้ของไฮเนเก้นมีความสัมพันธ์กับคุณค่าตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในทางตรงกันข้ามการรับรู้เกี่ยวกับเทศกาลดนตรีฤดูร้อนฮอนด้าซัมเมอร์ เฟส ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณค่าตราสินค้าโดยรวม นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีเพื่อการตลาดมีความสัมพันธ์กับคุณค่าตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทั้ง 3 กิจกรรม
Other Abstract: This research aims at studying music events for marketing and consumer based brand equity. The survey research is conducted to study 3 music events for marketing of True Academy Fantasia, Honda Summer Fest’ and Green Space One World Party Concert. The questionnaire is used to collect data from 400 samples in Bangkok. The results show that the samples perceived True Academy Fantasia in high level whereas Honda Summer Fest’ and Green Space One World Party Concert were perceived in low level. Their participations in all music events were in lowest level. However, the samples watched True Academy Fantasia television program in moderate level.The hypothesis testing finds that the perception of True Academy Fantasia and Green Space One World Party Concert significantly related to brand equity as 0.01 significant level. However, the perception of Honda Summer Fest’ did not significantly related to brand equity. In addition, participation in all music events significantly related to brand equity as 0.01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19941
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.744
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.744
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ornchuma_ni.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.