Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19986
Title: การสกัดดีบุกออกจากฮาร์ดเฮดโดยการละลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก
Other Titles: Extraction of tin from hardhead by hydrochloric acid leaching
Authors: สิริพร ทองบ่อ
Advisors: ชาคร จารุพิสิฐธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โลหะผสมดีบุก
กรดไฮโดรคลอริก
ดีบุก
อุตสาหกรรมดีบุก
โลหะผสมเหล็กดีบุก
การสกัด (เคมี)
โลหวิทยาสารละลาย
กรดไฮโดรคลอริก
Tin
Tin industry
Iron-tin alloys
Extraction (Chemistry)
Hydrometallurgy
Hydrochloric acid
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฮาร์ดเฮดคือโลหะผสมดีบุก-เหล็กที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการถลุงแร่ดีบุกซึ่งถูกหมุนเวียนในวงจรถลุง การสกัดดีบุกออกจากฮาร์ดเฮดโดยการละลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก สามารถแยกดีบุกออกจากเหล็กได้และไม่ต้องหมุนเวียนฮาร์ดเฮด ปัจจัยที่ใช้ในการละลายได้แก่ อัตราเร็วในการกวนตั้งแต่ 200 ถึง 800 รอบต่อนาที อุณหภูมิตั้งแต่ 40 ถึง 70 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 1 ถึง 4 โมลาร์ น้้าหนักฮาร์ดเฮดต่อปริมาตรสารละลาย 5 ถึง 20 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขนาดของฮาร์ดเฮดในช่วง -65 ถึง +200 และ -270 เมช และเวลาที่ใช้ในการละลายไม่เกิน 6 ชั่วโมง ดีบุกและเหล็กในฮาร์ดเฮดถูกละลายออกมาเป็นดีบุกคลอไรด์และเหล็กคลอไรด์ในสารละลาย ส้าหรับฮาร์ดเฮดที่มีดีบุก 46.31 เปอร์เซ็นต์ และเหล็ก 41.49 เปอร์เซ็นต์ ขนาดอนุภาค -270 เมช ดีบุกละลายออกมาได้หมด และ เหล็กละลายได้ 77.85 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 6 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของกรด 3 โมลาร์ และน้้าหนักฮาร์ดเฮดต่อปริมาตรสารละลาย 15 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ในการแยกดีบุกออกจากสารละลายท้าโดยการปรับ pH ของสารละลายด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ pH 3.0 สามารถแยกดีบุกได้ 97.68 เปอร์เซ็นต์ในรูปตะกอนดีบุกไฮดรอกไซด์ ในขณะที่เหล็กยังคงอยู่ในสารละลาย
Other Abstract: Hardhead is a tin-iron alloy formed during tin smelting process which is recycled in the smelting circuit. Extraction of tin from hardhead can be done by leaching with hydrochloric acid. The leaching parameters investigated are stirring rate of 200-800 rpm, temperatures of 40-70 ℃, HCl concentration of 1-4 M, hardhead/acid solution of 5-20 g/100ml, hardhead particle sizes in the range of -65 to +200 and -270 mesh and leaching time up to 6 hours. Tin and iron in hardhead dissolved in hydrochloric acid as tin chloride and iron chloride. For hardhead containing 46.31% Sn and 41.49% Fe with -270 mesh size, tin was completely leached out whereas 77.85%of Fe was extracted at 70 ℃, 3 M HCl, 15 g/100ml hardhead/acid solution within 6 hours. The separation of tin from the leached solution was done by pH adjustment with NaOH. At pH 3.0, 97.68% of tin was recovered as tin hydroxide precipitate while iron remained in the solution.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19986
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.640
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.640
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_th.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.