Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20008
Title: | การศึกษาความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | A study of magnet hospitals perceived by professional nurses in regional hospitals and medical centers, Ministry of Public Health |
Authors: | อุษณี ณ ตะกั่วทุ่ง |
Advisors: | สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การรับรู้ พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน โรงพยาบาล -- การบริหาร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ Perception Nurses -- Job satisfaction Hospitals -- Administration Achievement motivation |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 557 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการ บูรณาการแนวคิดของสุภาณี คงชุม (2550), McClure and Poulin (2002) และ Urden and Monarch (2002) ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านคุณภาพภาวะผู้นำ 3) ด้านการบริหารบุคลากร 4) ด้านการปฏิบัติงานและให้บริการเชิงวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .86 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1.ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย กระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.54, SD = 0.54) โดยด้านที่มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาล ดึงดูดใจสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติงานและให้บริการเชิงวิชาชีพ ( = 3.83, SD = 0.56) ด้านที่มีการรับรู้ ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจต่ำสุด คือ ด้านการบริหารบุคลากร ( = 3.31, SD = 0.62) สำหรับข้อที่มีการรับรู้สูงสุดคือ ฝ่ายการพยาบาลมีนโยบายให้พยาบาลวิชาชีพให้บริการผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ( = 4.16, SD = 0.72) และข้อที่มีการรับรู้ต่ำสุดคือ พยาบาลวิชาชีพ ได้รับสวัสดิการต่างๆอย่างเหมาะสมในเรื่องรายได้ เครื่องแบบ ที่พัก อาหาร การรักษาพยาบาล ( = 2.72, SD = 1.02) 2. พยาบาลวิชาชีพที่มี อายุ และประสบการณ์บริหาร แตกต่างกัน มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ .01 ตามลำดับ โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุมากกว่า มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุน้อย พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การบริหารมากกว่า มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การบริหารน้อย ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มี ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานด้านการปฏิบัติการพยาบาล และหน่วยงานที่ปฏิบัติ แตกต่างกัน มีการรับรู้ความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | This research was conducted with the objective of examining the level of magnet hospitals as perceived by professional nurses at regional hospitals and medical centers, Ministry of Public Health. The sample group consisted of 557 subjects obtained by multi-stage sampling. The research instrument employed consisted of the questionnaire on magnet hospitals according to the perceptions of professional nurses which the researcher created by integrating the concepts of Suphanee Kongchum (2007), McClure and Poulin (2002) and Urden and Monarch (2002) and consisting of the following 4 aspects: 1 Administration management, 2 Quality of leadership, 3 Human resource management and 4 Professional practice and service. The instrument passed the examination of a panel of 5 qualified experts who checked for content validity which equaled .86. Reliability was tested by finding Cronbach’s alpha coefficient wherein reliability equaled .95. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The research findings revealed the following: 1. According to the perceptions of professional nurses at regional hospitals and medical centers, Ministry of Public Health, the overall perception of magnet hospitals was high ( = 3.54, SD = 0.54) wherein the aspect with the highest perception was Professional practice and service( = 3.83, SD = 0.56). The aspect that had the lowest perception was personnel management ( = 3.31, SD = 0.62) while the topic that had the highest perception was the Nursing Department’s policy to have professional nurses provide services for patients in consideration of human compassion ( = 4.16, SD = 0.72) and the item that had the lowest perception was the perception that professional nurses received various benefits as appropriate in terms of income, uniforms, lodgings, food and medical treatment ( = 2.72, SD = 1.02). 2. The magnet hospitals perception score were significantly different between age, administration experienced at the level .05 and .01 respectively, Older professional nurses have higher perceptions of magnet hospitals than younger professional nurses. Furthermore, professional nurses with higher levels of managerial experience have higher perceptions of magnetic hospitals than profession nurses with lower levels of managerial experience. Professional nurses who have differing levels of education, nursing practice work experience and work units had perceptions of magnet hospitals that were not different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20008 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1420 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1420 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
usanee_na.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.