Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20038
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ภาวะการณ์ติดเชื้อ คุณภาพการนอนหลับ ภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวลกับระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรม |
Other Titles: | Relationships among respiratory muscle strength, infection, sleep quality, nutritional status,anxiety, and time undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients |
Authors: | อาริยา พงศาบุญมา |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เครื่องช่วยหายใจ การหายใจ การนอนหลับ ผู้ป่วยหนัก -- การดูแล ความวิตกกังวล |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ภาวะการติดเชื้อ คุณภาพการนอนหลับ ภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวลกับระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ จำนวน 120 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ และแบบประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการหายใจ ซึ่งบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ และแบบประเมินความแข็งแรง ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .87 , .89 และ.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน.ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระยะเวลาในการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมอยู่ในระยะยาวนาน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11 วัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5. 44 ซึ่งมีช่วงเวลาของการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจตั้งแต่ 1 – 22 วัน 2. คุณภาพการนอนหลับ ภาวะโภชนาการ และระดับเม็ดเลือดแดงมีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาในการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( r = .557 , .819 และ .927 ตามลำดับ) 3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการหายใจ โดยจำแนกแบ่งตามปริมาตรอากาศที่ไหลเข้า-ออกจากปอดต่อการหายใจ 1 ครั้ง (Tidal Volume: VT) ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที(Minute Ventilation) และปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าสูงสุด (Vital Capacity : VC) มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูง กับระยะเวลาในการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .845 , .852 และ .910 ตามลำดับ) 4. ภาวะการติดเชื้อ และความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกระยะเวลาในใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .770 และ .574 ตามลำดับ) |
Other Abstract: | The purposes of this study were to examine the relationships among respiratory muscle strength, infection, sleep quality, nutritional status, anxiety, and time undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients. The subjects were 120 patients receiving mechanical ventilator, selected by a simple random sampling. The instrument was a set of questionnaires consisted of four parts: a demographic data form, a sleep quality questionnaire, nutritional status, anxiety, and muscle strength. The sleep quality questionnaire, nutritional status, anxiety, and muscle strength questionnaire were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .87 , .89 และ.89, respectively. Pearson product moment correlation were used for statistical analysis. Results were as follows: 1. Mean of time undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients. (mean = 11 , S.D. = 5.44) 2. There were negative statistical correlation between nutritional status by albumin level Hct score and sleep quality of undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients at the level of .01. ( r= .819, .927 and .557, respectively ) 3. There were negative statistical correlation between muscle strength score by tidal volume, minute ventilation and vital capacity of undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients at the level of .01 (r = .845 , .852 and .910, respectively ) 4. There were positively statistical correlation between infection and anxiety score of undergoing mechanical ventilators in critically medical ill patients at the level of .01.( r= .770 and .574, respectively ) |
Description: | วิทยานิพนธ์(พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20038 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1830 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1830 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ariya_po.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.