Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20102
Title: | โครงการวิจัยเรื่องความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา (ปีที่1): รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Authors: | ประโยชน์ เจริญสุข |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม |
Subjects: | ความจน -- ไทย (ภาคใต้) การกระจายรายได้ -- ไทย (ภาคใต้) ไทย (ภาคใต้) -- ภาวะเศรษฐกิจ |
Issue Date: | Sep-2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการวิจัยเรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนข้อมูลพื้นฐานสภาพทั่วไปและสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ 5 จังหวัด โดยมีขอบเขตการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความยากจนและการกระจายรายได้จากค่าสัมประสิทธิ์จีนี่และ Income Quintile (ความแตกต่างระหว่างขั้นรายได้) รวมไปถึงการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม สถานการณ์ความไม่สงบ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อความยากจนและความไม่เท่าเทียม กันด้านรายได้ของประชาชนสำหรับผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์แนวโน้มความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ 5 จังหวัด จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของประชากรทั้งประเทศปี 2547 ถึงปี 2552 โดยจำแนกกลุ่มประชากรตามลำดับรายได้ (Quintile by Income) แบ่งเป็น 5 กลุ่มโดยไล่จากกลุ่มที่ 1 (จนที่สุด) ไปจนถึงกลุ่มที่ 5 (รวยที่สุด) โดยเรียงลำดับจากรายได้ประจำเฉลี่ยและรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย จากน้อยไปมาก โดยจากข้อมูลปี 2547 จนถึงปี 2552 พบว่า รายได้ประจำเฉลี่ยของกลุ่มที่ 1 (จนที่สุด) ไปจนถึงกลุ่มที่ 5 (รวยที่สุด) มีรายได้ประจำเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีสอดคล้องกับข้อมูลรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปีตามลำดับ ส่วนข้อมูลสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ ข้อมูลปี 2552 พบว่าความไม่เท่าเทียมของรายได้ทั่วประเทศลดลงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค ของรายได้ อยู่ที่ 0.49 ลดลงจากปี 2549 และ 2550ส่วนภาคใต้ พบว่าความไม่เท่าเทียมของรายได้ทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค ของรายได้ อยู่ที่ 0.48 เพิ่มมากขึ้นจากปี 2549 และ 2550 โดยเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค ของรายได้ในปี 2552 ของภาคใต้ กรุงเทพมหานครและค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคในเขตเมืองมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับสถานการณ์ความยากจนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยพิจารณาจากเส้นความยากจนจำนวนคนจนและสัดส่วนคนจนที่คิดเป็นร้อยละ ตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2552 โดยพบว่าในปี 2552 จังหวัดสงขลามีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,591 สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 0.23 จำนวนคนจนเท่ากับ 3,200 คนจังหวัดสตูลมีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,515 สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 1.26 จำนวนคนจนเท่ากับ 3,600คน จังหวัดยะลามีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,572 สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 13.01 จำนวนคนจนเท่ากับ62,200 คน จังหวัดปัตตานีมีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,455 สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 19.6 จำนวนคนจนเท่ากับ 128,300 คน จังหวัดนราธิวาสมีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,447 สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 22.85Chulalongkorn University Social Research Instituteจำนวนคนจนเท่ากับ 173,900 คน ส่วนภาพโดยรวมทั้ง 5 จังหวัด พบว่ามีเส้นความยากจนอยู่ที่ 1,516สัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 11.36 จำนวนคนจนเท่ากับ 74,240 คนสรุปแนวโน้มความเหลื่อมล้ำจากข้อมูลข้างต้นพิจารณาได้ว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุด คือจังหวัดนราธิวาส รองลงมา คือ จังหวัดปัตตานีโดยมีสัดส่วนคนจนคิดเป็นร้อยละ 22.85 และ ร้อยละ 19.46ตามลำดับ โดยจังหวัดสงขลามีสัดส่วนคนจนน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 0.23 ส่วนเส้นความยากจนพบว่าใน5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลามีเส้นความยากจนสูงที่สุด คือ 1,591 (บาท/คน/เดือน) รองลงมา คือจังหวัดยะลา คือ 1,572 (บาท/คน/เดือน) ส่วนจังหวัดปัตตานีมีเส้นความยากจนต่ำที่สุดใน 5 จังหวัด คือ1,455 (บาท/คน/เดือน) |
Description: | การดำเนินโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2554 นี้ เป็นการดำเนินโครงการในปีที่ 1 ได้รายงานผล การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาวะความยากจนและการกระจายรายได้จากค่าสัมประสิทธิ์จีนี่และ ความแตกต่างระหว่างขั้นรายได้ (income Quintile) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ 5 จังหวัด |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20102 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Social Research - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayot.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.