Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20215
Title: | ปัญหาเรื่องการบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติในกรอบความคิดของอริสโตเติล |
Other Titles: | The problem of the attainment of the good life in a non-ideal state in Aristotle's conceptual framework |
Authors: | ชญานิน นุ้ยสินธุ์ |
Advisors: | อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ชีวิตทางจิตวิญญาณ ชีวิต |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปัญหาเรื่องการบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติในกรอบความคิดทางปรัชญาของอริสโตเติล ซึ่งเป็นคำถามที่อริสโตเติลไม่ได้พิจารณาไว้อย่างชัดเจน โดยจะวิเคราะห์การบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ หากเป็นไปได้แล้ว จะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่ปัจเจกบุคคลในฐานะพลเมืองจะบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐเช่นนั้น ในจริยศาสตร์จะพบว่าชีวิตแห่งความเป็นเลิศทางลักษณะนิสัยและทางพุทธิปัญญาเป็นชีวิตที่ปัจเจกบุคคลสามารถบรรลุความเป็นเลิศในฐานะมนุษย์ หรือเป็นชีวิตที่ดี 2 แบบในทัศนะของอริสโตเติล แม้ชีวิตแห่งความเป็นเลิศทางพุทธิปัญญาจะเป็นรูปแบบของชีวิตที่ดีที่สุดและเหนือกว่าชีวิตแห่งความเป็นเลิศทางลักษณะนิสัย แต่ชีวิตทั้ง 2 แบบก็มิได้มีความขัดแย้งกัน ชีวิตแห่งความเป็นเลิศทั้งสองสามารถนำไปสู่ความเป็นเลิศของมนุษย์หรือชีวิตที่ดีได้ แม้จะต่างระดับกัน ดังนั้น ในทางทฤษฎี ปัญหาของการบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติจึงไม่ได้อยู่ที่ธรรมชาติหรือศักยภาพของมนุษย์ ส่วนความคิดของอริสโตเติลเรื่องรัฐหรือการเมืองบ่งชี้ว่า รัฐดำรงอยู่ในฐานะเงื่อนไขที่จำเป็นของมนุษย์ และในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนต่อการมีชีวิตที่ดี โดยรัฐจะจัดวางองค์ประกอบต่างๆ เช่น หลักกฎหมาย การศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในรัฐอนุดมคติ รัฐมิได้ดำรงอยู่ในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีมากนัก หากแต่มีองค์ประกอบบางประการที่ด้อยไปตามส่วนของข้อบกพร่องที่รัฐนั้นๆมี ในการประเมินความเป็นไปได้ของการบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติในกรอบความคิดของอริสโตเติลนั้น วิทยานิพนธ์จะเสนอว่า แม้รัฐอนุดมคติจะมีข้อบกพร่องหรือปัญหา แต่ในรัฐอนุดมคติที่มีองค์ประกอบและปัจจัยที่ดีเพียงพอเช่นในระบอบประชาธิปไตยที่ดีที่สุดหรือระบอบคณาธิปไตยที่ดีที่สุด จะสามารถมีผู้บรรลุชีวิตที่ดีทั้งทางความเป็นเลิศทางลักษณะนิสัยและทางพุทธิปัญญาได้ แม้ว่าจะมีผู้ที่บรรลุชีวิตที่ดีเหล่านั้นอยู่น้อยอย่างยิ่ง เนื่องจากการบรรลุชีวิตที่ดีในรัฐอนุดมคติเป็นสิ่งที่ยากลำบากจากสภาพของสังคม/การเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยมากนัก |
Other Abstract: | This thesis analyses the problem of the good life in a non-ideal state in Aristotle’s conceptual framework. Aristotle never explicitly considers the problem. The main issue I will consider, therefore, is “Is the good life in a non-ideal state possible?” In Aristotle’s Ethics, man can fulfill the human good by exercising excellence of character and excellence of intellect. In this respect, there is no conflict between the life of virtue and the life of intellect on the basis of logos. Both lives can lead man to eudaimonia i.e. happiness or the good life, though in different degrees. Hence the problem of the attainment of the good life for individuals does not lie in the human nature. In his idea about politics, Aristotle famously claims that only in a polis, can man attain eudaimonia. A state is a necessary condition and supporting factor that enables man to live the good life. He, however, admits that a good state is very rare and the ideal state never exists. Most actual states in ancient Greece were non-ideal states, i.e. the states which were not well-constituted. This thesis argues that it is possible for individuals to live the good life in a moderate non-ideal state with the rule of law, especially in a good oligarchy or in a good democracy. These kinds of state will provide the circumstances possible for citizens to have the opportunity to attain the good life. It is implied in Aristotle’s texts that there are very few who attain the good life in non-ideal states. Even so, living in non-ideal states makes it difficult for citizens to exercise their human excellence in comparison with ideal states |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20215 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1849 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1849 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chayanin_nu.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.