Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20261
Title: | ผลลัพธ์ของการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่ใช้ยาชนิดสูด |
Other Titles: | Outcomes of self-management education to caregivers and asthmatic children using inhaled medications |
Authors: | รุ่งนภา ปัญญานิลพันธุ์ |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต พรรณทิพา ฉัตรชาตรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่ใช้ยาชนิดสูด ได้แก่ ผลลัพธ์ทางคลินิก เช่น ผลการควบคุมโรคหืด ค่า PEFR, ความรู้เรื่องโรคและยา, ความร่วมมือในการใช้ยา, ความถูกต้องในการใช้ยาชนิดสูด และความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กต่อการให้บริการของเภสัชกร วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 56 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 ราย กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองร่วมกับผู้ดูแล กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับบริการจากโรงพยาบาลตามปกติ ดำเนินการศึกษาระหว่างธันวาคม 2551 ถึง กรกฎาคม 2552 ผลการศึกษา: หลังจากติดตามผลการศึกษา 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการควบคุมโรคหืด และค่าเฉลี่ยของค่า PEFR สูงขึ้น มีระดับการควบคุมโรคหืดที่ดีขึ้น เหตุการณ์อันเนื่องมาจากการเกิดอาการกำเริบของโรคหืดลดลงแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (p>0.05) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องโรคหืดและยาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มสูงขึ้น (p<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (p>0.05) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องโรคหืดและยาของผู้ดูแลเด็กกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยของจำนวนขั้นตอนที่ใช้ยาชนิดสูดไม่ถูกต้องของผู้ดูแลและผู้ป่วยกลุ่มศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาชนิดสูดสำหรับควบคุมอาการของผู้ป่วยกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของคะแนนความร่วมมือในการให้ยาชนิดสูดสำหรับควบคุมอาการของผู้ดูแลทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (p>0.05) และค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อการให้บริการของเภสัชกรของผู้ดูแลเด็กกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา: ผลลัพธ์ของการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่ใช้ยาชนิดสูดในด้านผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลที่ได้รับการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองเห็นว่าการให้ความรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเองเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ช่วยให้รู้วิธีดูแลผู้ป่วยและเพิ่มความเชื่อมั่นต่อความสามารถของตนเองว่าจะสามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการหอบกำเริบได้ |
Other Abstract: | Objectives: To study the outcomes of self-management education to caregivers and asthmatic children using inhaled medications including clinical outcomes such as asthma control, PEFR; knowledge on diseases and drugs; medication adherence; appropriate used of inhalers and caregiver’s satisfaction. Methods: A total of 56 patients were enrolled in the study, 28 patients were randomized equally into the study group and control group. Patients and caregivers in the study group received self-management education program, meanwhile the control group received usual pharmacy services. This study was conducted during December 2008 to July 2009. Results: After three months of follow-up, mean asthma control score and mean PEFR of both groups were increased, controlled level was improved while mean asthma event was decreased, however no statistical difference was found between groups (p>0.05). Mean knowledge score on asthmatic disease and medications in both groups increased significantly (p<0.001), but no difference was found between groups (p>0.05). Mean knowledge score on asthmatic disease and medications of caregivers in the study group was significantly higher than control group (p<0.001). The mean number on steps of inappropriate inhaler used in the study group was significantly lower than control group (p<0.05). The mean score of adherence of patients in study group was significantly higher than control group (p<0.05). Mean score of adherence of caregivers in both groups were increased but no difference was found between groups (p>0.05). The mean score of caregiver’s satisfaction in the study group was significantly higher than the control group (p<0.05). Conclusions: The clinical outcomes of self-management education program to caregivers and asthmatic children using inhaled medications was not different from control group. However, caregivers in the study group agreed that self-management education was beneficial to their children, the knowledge from the program provides confidence in managing their children when having asthma exacerbation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20261 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungnapa_pa.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.