Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ศุภพงษ์-
dc.contributor.advisorวิโรจน์ เจียมจรัสรังษี-
dc.contributor.advisorฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล-
dc.contributor.authorดลสุข พงษ์นิกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-16T05:21:21Z-
dc.date.available2012-06-16T05:21:21Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20377-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกโดยจำแนกตามการทำงานในแต่ละประเภทอาชีพและประเภทอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิด Case-control ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาค ในช่วงเดือน มีนาคม-สิงหาคม 2551 กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกที่มีผลพยาธิวิทยาทุกราย กลุ่มควบคุมเป็นญาติหรือเพื่อนที่มาเยี่ยมผู้ป่วยที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาค เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหาร การเจ็บป่วยในอดีต การมีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว และประวัติการทำงานทุกตำแหน่งงานที่ทำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นนำมาจัดกลุ่มประเภทอาชีพและประเภทอุตสาหกรรมตามมาตรฐานสากล (ISCO version 68 และ NACE) มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 539 คน ประกอบด้วยกลุ่มศึกษา 251 คน และกลุ่มควบคุม 288 คน ผลการศึกษาพบว่าประเภทอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ช่างไม้ก่อสร้าง พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ช่างซ่อมเครื่องยนต์ พนักงานขับรถแท็กซี่ เจ้าของกิจการค้าปลีก และพ่อครัว แม่ครัว ส่วนประเภทอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การโม่ สี ธัญพืช การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ การซ่อมแซมยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ ร้านอาหาร การขายปลีกในร้านค้า และกิจกรรมทางทหาร เนื่องจากพบความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในหลายประเภทอาชีพและประเภทอุตสาหกรรม ดังนั้นควรให้ความสนใจและจัดให้มีการดำเนินการด้านอาชีวอนามัยทั้งในด้านการควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังในผู้ที่ทำงานในประเภทอาชีพและอุตสาหกรรมเหล่านั้นen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to evaluate the risk of nasopharyngeal carcinoma by grouped occupations and industries. This case-control study was conducted at National Cancer Institute of Thailand and regional cancer centers during March to August 2008. The study sample consisted of incidence cases of nasopharyngeal carcinoma with histological confirmation and controls obtained from friends and cousins of patients visited at National Cancer Institute of Thailand and regional cancer centers. Information was collected by interviews about demographic variables, cigarette smoking, alcohol drinking, eating habits, past history of disease, family history of cancer and a lifetime history of every job that was held for one year or longer. Occupations were coded using ISCO version 68 and industries were coded using NACE. Totally 539 participants were interviewed, including 251 cases and 288 controls. Occupations associated with significantly increased risks of nasopharyngeal carcinoma were carpenter, bus driver, mechanic, taxi driver, retail trade owner and cook. Industries associated with significantly increased risks of nasopharyngeal carcinoma were grain milling, metal production, motor vehicle repair, wood product making, restaurant, retail sale and military service. In conclusion, this study has shown a significant risk of nasopharyngeal carcinoma among workers in some occupations and industries. Consequently, these workers should be paid attention and provided with occupational health services such as prevention and control of exposures and health surveillance of nasopharyngeal carcinoma in specific occupations and industries.en
dc.format.extent1153781 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1086-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโพรงจมูก -- มะเร็งen
dc.subjectมะเร็ง -- ปัจจัยเสี่ยงen
dc.titleการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการประกอบอาชีพต่อการเป็นโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาคen
dc.title.alternativeOccupational risk factors for nasopharyngeal carcinoma : a case-control study at National Cancer Institute of Thailand and regional cancer centersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1086-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Donsuk_po.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.