Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20449
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการทำงานกับความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของคอและรยางค์ส่วนบนในพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
Other Titles: The prevalence and work related factors of neck and upper limb musculoskeletal disorders in the toll collectors of The Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand
Authors: กานต์ คำโตนด
Advisors: นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
โครงกระดูก
ปวดคอ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการทำงานกับการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของคอและรยางค์ส่วนบนในพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับทั้งสิ้น 360 คน และถูกตัดออกจากการศึกษาจำนวน 8 คน เนื่องจากข้อมูลไม่สมบูรณ์ คงเหลือกลุ่มศึกษาจำนวน 352 คน คิดเป็นร้อยละ 88 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของคอและรยางค์ส่วนบนในพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนและ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 92.9 และร้อยละ 74.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ระยะเวลาการทำงานเป็นปีการใช้มือทำท่าทางซ้ำๆ การทำงานพื้นที่จำกัดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ท่าทางการทำงานต้องโน้มตัวทำงาน ท่าทางการทำงานต้องเอี้ยวหรือบิดตัว ที่ทำงานอากาศร้อนอบอ้าว ที่ทำงานมีกลิ่นจากควันหรือสารที่ก่อให้เกิดความรำคาญ และปัจจัยทางด้านจิตสังคมในเรื่องความรู้สึกต่อภาระงานที่มาก สำหรับความรุนแรงของอาการผิดปกติพบบริเวณไหล่ข้างขวามากที่สุด รองลงมาได้แก่บริเวณคอ และบริเวณข้อมือ/มือข้างขวา ตามลำดับ ส่วนการปฎิบัติตัวเมื่อมีอาการผิดปกติ พบว่า ส่วนใหญ่สามารถทำงานได้ตามปกติ รองลงมาคือต้องรับประทานยาแก้ปวด และไม่ต้องรักษา หายเองได้ โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของคอและรยางค์ส่วนบนในพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษมีความชุกสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและความสนใจในปัญหาดังกล่าวนี้ และควรจัดให้มีการป้องกันการเกิดความผิดปกติดังกล่าวต่อไป
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to determine the prevalence and work related factors of neck and upper limbs musculoskeletal disorders (WRULDs) in the toll collectors of the Expressway and Rapid transit Authority of Thailand. Data were collected by self-administered questionnaires during April 2008 and May 2008. Totally 352 toll collectors were participated in the study, with the questionnaires’s response rate of 88 percents. The results showed that the prevalence rates of neck and upper limbs musculoskeletal disorders during past 12 months and 7 days were 92.9% and 74.1% respectively. Factors significantly related to WRULDs (p<0.05) were: duration of work in years, repetitive hand movement, limited postures due to limited area of work, bending postures, twisted postures of the body, high ambient temperature at workplace, bothering smell and/or smoke in the work place, attitude of high work load. The most severe symptoms of disorders was found in the right shoulder, neck and right wrist/hand respectively. When the symptoms occur, most toll collectors could still do the job as usual, less proportion of them took analgesics and let the symptoms recover spontaneously. In conclusion , this study showed that neck and upper limbs musculoskeletal disorders were significant problem among the toll collectors of the Expressway and Rapid transit Authority of Thailand. Prevention program should be set up according to these associated factors and is needed attention from concerning authorities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20449
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2030
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2030
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karn_km.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.