Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2055
Title: | การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ |
Other Titles: | Development and testing of Thai smoking cessation quality of life assessment instrument |
Authors: | ฐิติพร นาคทวน |
Advisors: | เรวดี ธรรมอุปกรณ์ ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเลิกบุหรี่--ไทย คุณภาพชีวิต--การประเมิน--ไทย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบคุณสมบัติความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิธีการประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ (1) การสร้างเครื่องมือ (2) การทบทวนข้อคำถามโดยผู้เชี่ยวชาญ และ (3) การทดสอบเครื่องมือ เครื่องมือฉบับร่างสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ข้อคำถามจากแบบสำรวจสุขภาพทั่วไป SF-36 และการสัมภาษณ์แบบกึ่งมาตรฐานในผู้ที่สูบบุหรี่ 16 ราย ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ 8 รายและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 5 ราย ข้อคำถามเริ่มต้นมีทั้งหมด 95 ข้อคำถามประกอบด้วย 2 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของการเลิกสูบบุหรี่ต่อการประกอบกิจกรรมประจำวันและความเป็นอยู่โดยทั่วไปในประชากรผู้ใหญ่จำนวน 71 ข้อคำถาม และหัวข้อคุณภาพชีวิตจากการใช้ยาซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบในด้านลบต่อคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ จำนวน 24 ข้อคำถาม ในแต่ละข้อคำถามมีลักษณะตัวเลือกเป็นแบบลิเคอร์ทสเกลจำนวน 5 ระดับ หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาของเครื่องมือแล้วได้นำเครื่องมือไปทดสอบขั้นต้นในกลุ่มตัวอย่าง 20 คน และนำไปทดสอบจริง โดยเครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทำการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่จำนวน 431 คน ส่วนเครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตจากการใช้ยาทำการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่ที่กำลังใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่จำนวน 78 คน สำหรับการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา เครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมกับการวิเคราะห์ข้อคำถามในการตรวจสอบความตรงทางโครงสร้างและความเที่ยงของเครื่องมือ ส่วนเครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตจากการใช้ยาใช้การวิเคราะห์ข้อคำถามในการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ หลังจากนั้นใช้การเทียบกับกลุ่มที่รู้เพื่อสนับสนุนผลการตรวจสอบความตรงทางโครงสร้างของเครื่องมือทั้งสองหัวข้อ ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือทั้งสองหัวข้อมีความตรงทางเนื้อหา ความตรงทางโครงสร้างและความเที่ยงอยู่ในระดับดี เครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้รับการปรับปรุงแก้ไขเหลือ 36 ข้อและมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าโดยรวมเป็น 0.93 ผลจากการสกัดองค์ประกอบโดยวิธีแกนหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมแหลม (โปรแมกซ์) พบว่าโครงสร้างของคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านความเป็นอยู่โดยทั่วไป 18 ข้อ (2) ด้านความพึงพอใจ 8 ข้อ (3) ด้านการควบคุมตนเอง 4 ข้อ และ (4) ด้านปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ 6 ข้อ จากการใช้สถิติแมนวิทนีย์-ยู พบว่าในกลุ่มที่เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปรายงานคะแนนคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านสูงกว่าในกลุ่มที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.02 แสดงว่าเครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขนั้นมีความตรงทางโครงสร้าง สำหรับเครื่องมือในหัวข้อคุณภาพชีวิตจากการใช้ยาหลังจากการวิเคราะห์ข้อคำถามยังคงจำนวนข้อคำถามไว้ที่ 24 ข้อโดยจำแนกออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ความรู้สึกทางจิตวิทยาสังคมที่มีต่อการใช้ยา 8 ข้อ (2) อาการข้างเคียงจากการใช้ยา 16 ข้อ และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าโดยรวมเป็น 0.83 จากการใช้สถิติแมนวิทนีย์-ยู พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มที่ใช้ยาเม็ดรับประทานชนิดออกฤทธิ์เนิ่นบูโพรพิออน รายงานคะแนนคุณภาพชีวิตจากการใช้ยาในด้านความรู้สึกทางจิตวิทยาสังคมที่มีต่อการใช้ยาสูงกว่าในกลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.03 ผลการวิจัยทั้งหมดสามารถยืนยันถึงความตรงและความเที่ยงในเบื้องต้นของเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to develop a Thai Smoking Cessation Quality of Life Assessment Instrument (TSCQoL) and examine the validity and reliability of this measure. This methodological research involves 3 processes: (1) instrument development, (2) expert review of the instrument, and (3) testing of the instrument. The draft TSCQoL was developed by using literature review, SF-36 Thai version and unstructured interviews with 16 smokers, 8 ex-smokers and 5 healthcare workers. The initial 95-item instrument, comprised two aspects was generated, 71 items were intended to quantify the impact of smoking cessation on perceived functioning and well-being in adults (HRQoL aspect) and 24 items were intended to assess the inherent burden associated with the consumption of smoking cessation pharmacotherapies (PTRQoL aspect). Five-point Likert scale was used as response choice of each item. Following content validation by expert review panels, the draft TSCQoL was pre-tested in a sample of 20 adults and large scale-tested in a sample of 431 adults (smokers and ex-smokers) for HRQoL aspect and 78 adults (smokers and ex-smokers receiving pharmacotherapies) for PTRQoL aspect. For psychometric properties, exploratory factor analysis with item analysis was used to examine the construct validity and reliability of HRQoL aspect whereas item analysis was used to explore the reliability for PTRQoL aspect. Known group validity was used to support the evidence of construct validity of both revised aspects. The results indicated that both aspects had content validity, construct validity and high internal consistency reliability. The HRQoL aspect was revised to 36 items with overall coefficient alpha 0.93. Principal axis factoring with oblique (promax) revealed four subscales for HRQoL aspect: (1) general well being (18 items), (2) satisfaction (8 items), (3) self-control (4 items), and (4) mental and emotional problems (6 items). Mann-Whitney-U test revealed that ex-smokers who had been abstinent for more than or equal to 3 months reported significantly higher quality of life scores than smokers on four subscales (p < 0.02), representing the construct validity of HRQoL aspect. The PTRQoL aspect was retained at 24 items, comprised two subscales: (1) psychosocial consequences (8 items), and (2) negative consequences (16 items) with overall coefficient alpha 0.83. Mann-Whitney-U test also confirmed the construct validity of PTRQoL aspect by presented that participants receiving bupropion SR reported significantly higher pharmaceutical related quality of life scores than participants receiving nicotine gum on psychosocial consequences subscale (p=0.03). These findings identify preliminary evidence for the validity and reliability of the TSCQoL instrument. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2055 |
ISBN: | 9741756542 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thitiporn.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.