Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20625
Title: | ความวิตกกังวลของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2551 |
Other Titles: | Anxiety in the second year medical students at Faculty of Medicine, Chulalongkorn University in year course 2008 |
Authors: | อัมพร ธนะวัฒน์สัจจะเสรี |
Advisors: | รวิวรรณ นิวาตพันธุ์ ศิริวรรณ ศิริบุญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ความวิตกกังวล |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ระดับความวิตกกังวลรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2551 โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณทำการสำรวจผ่านแบบสอบถามวัดความวิตกกังวล State Anxiety Inventory โดยจำแนกนิสิตตามเพศและระดับความวิตกกังวลเพื่อเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รวม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ Chi-Square Test และ Multiple Linear Regression ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่านิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง แรงผลักดันในการเข้ามาศึกษาส่วนใหญ่เกิดจากตัวนิสิตเอง นิสิตมักประสบปัญหาการเรียนในด้านความไม่เข้าใจเนื้อหา อาจารย์สอนเร็วโดยมีความวิตกกังวลในการทำแฟ้มสะสมผลงานและการรายงานหน้าชั้นเรียนเพียงเล็กน้อย ซึ่งนิสิตแก้ปัญหาด้วยการปรึกษารุ่นพี่หรือเพื่อน มีการช่วยเหลือกันทั้งในและนอกกลุ่ม แม้ว่าจะมีการเข่งขันด้านการเรียนภายในคณะก็ตาม นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมและยังคงสมัครใจในการเรียนคณะแพทยศาสตร์ต่อไป ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่านิสิตตัดสินใจเลือกเรียนคณะแพทย์ด้วยตนเองเช่นกัน แต่สิ่งที่ทำให้นิสิตเกิดความวิตกกังวล ได้แก่ ปริมาณและความยากของวิชาเรียน คะแนนสอบ การรายงานหน้าชั้น การทำแฟ้มสะสมผลงาน รวมถึงความวิตกกังวลที่เกิดจากเพื่อนนอกกลุ่มที่ขยันเรียน จากการศึกษาความวิตกกังวลในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ความชุกของภาวะวิตกกังวลโดยนิสิตส่วนใหญ่ร้อยละ 62.2 มีความวิตกกังวลปานกลาง นิสิตที่มีความวิตกกังวลต่ำร้อยละ 24.3 และนิสิตที่มีความวิตกกังวลสูงร้อยละ 13.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ลักษณะปัญหาในการเรียน ปัญหาการรายงานหน้าชั้น และความพึงพอใจในภาพรวมชีวิตในคณะแพทย์จุฬาฯ ซึ่งพบว่านิสิตที่ไม่มีปัญหาในการเรียนและไม่มีปัญหาในการรายงานหน้าชั้นมีความวิตกกังวลสูง เนื่องจากความวิตกกังวลกระตุ้นให้เกิดผลในทางบวกได้ ส่วนนิสิตที่ไม่พึงพอใจในภาพรวมชีวิตในคณะแพทย์จุฬาฯ มีความวิตกกังวลสูงกว่ากลุ่มที่พึงพอใจ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้พยากรณ์ความวิตกกังวลของนิสิตแพทย์ได้แก่ การทำแฟ้มสะสมงาน (R² =0.188) เป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจที่ดีในอนาคต (R² =0.171) การรายงานหน้าชั้นเรียน (R² =0.143) และปัญหาในการเรียน (R² =0.099) สรุปพบความชุกของภาวะวิตกกังวลโดยนิสิตส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลปานกลาง ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลได้แก่ ลักษณะปัญหาในการเรียน ปัญหาการรายงานหน้าชั้น และความพึงพอใจในภาพรวมชีวิตในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Abstract: | Objectives: To study prevalence, level of anxiety and coordinated factors in the second year medical students at Faculty of Medicine, Chulalongkorn University in year course 2008. Methods: Quantitative and qualitative methods on data collection were applied. The State Anxiety Inventory questionnaires were distributed to the second year medical students. According to gender and level of anxiety, students were classified to 4 groups with 7 students in each group. Focus group discussion was done. Data were analyzed by descriptive statistic: frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-Square test and Multiple Linear Regression. Results: majority of the second year medical students are female. Most students got learning motivation by themselves. Their common problems were inability to understand and following the instructors during lecture period. They showed less concern about portfolio collection and class presentation, these problems could be solved by consulting their friends. Although competitive learning atmosphere in the faculty, students helped each other. Most students are satisfied in overall aspects and still willing to continue their learning. According to the qualitative study, the result is found that most students have decided to study in Faculty of Medicine by themselves. Their anxiety was associated with quality and difficulty in studied subjects, examination score, class presentation, portfolio collection including the anxiety produced by the influence of other competitive classmates. From the study of students’ anxiety in past 1 month, the prevalence of medium, low and high level of anxiety is 62.2%, 24.3% and 13.5% respectively. Three factors are statistically related to anxiety are learning problems, class presentation, and overall satisfaction in the Faculty of Medicine (P<0.05). Students without problems in learning and class presentation show more anxiety than the students who had. Students who are satisfied in learning environment showed significantly less anxiety than the students who are not. Therefore it is implied that having anxiety, sometimes can affect as a positive reinforcement. The predictors of anxiety are. Portfolio collection (R² =0.188), motivation to study for good future economic status (R² =0.171), class presentation (R² =0.143) and learning problems (R² =0.099). Conclusion: The prevalence of students’ anxiety is medium. Three factors which related to anxiety are learning problems, class presentation, and overall satisfaction in the Faculty of Medicine. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20625 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.703 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.703 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amporn_ta.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.