Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20786
Title: | วิถีการดำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันของชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม กรณีศึกษาชุมชนวัดขจรศิริและชุมชนมัสยิดอัลเอี๊ยะติซอม เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Ways of living in the coexistence of Buddhist and Muslim communities : a case study of Wat Kajornsiri and Al-Iatisom Mosque communitites |
Authors: | ธัญทิพา เวทมาหะ |
Advisors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ชุมชน มุสลิม พุทธศาสนิกชน Communities Muslims Buddhists |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คือการศึกษาวิถีการดำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันของชุมชนวัดขจรศิริและชุมชนมัสยิดอัลเอี๊ยะติซอม เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชุมชนต่างวัฒนธรรม โดยศึกษาจากการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู และคณะกรรมการชุมชน รวมถึงศึกษาเอกลักษณ์ในการดำรงชีวิตของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมจากเอกสารตำรา ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ รูปแบบและลักษณะการตั้งถิ่นฐานร่วมกันของชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม หลักปฏิบัติทางศาสนาที่เกี่ยวข้องต่อวิถีการดำรงชีวิตและการใช้พื้นที่ เอกลักษณ์ ความเหมือน และความต่างในการใช้พื้นที่ของชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีประชากรไทยพุทธและไทยมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีการตั้งถิ่นฐานค่อนข้างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะค่อนข้างชัดเจน คือมีศาสนสถานได้แก่ วัดและมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน สร้างบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดติดกัน การศึกษานี้เป็นการศึกษาความเหมือนและความแตกต่างทางพฤติกรรมการใช้พื้นที่จากศาสนิกชนสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือชาวไทยพุทธในพื้นที่ชุมชนวัดขจรศิริ กลุ่มที่สองคือชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ชุมชนมัสยิดอัลเอี๊ยะติซอมซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนี โดยเงื่อนไขของพื้นที่สองชุมชนคือตั้งอยู่ในละแวกเดียวกัน ถือเป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม การศึกษาเกิดข้อค้นพบรูปแบบการใช้พื้นที่เฉพาะทางสังคมแต่ละชุมชนวัฒนธรรม และพื้นที่ร่วมทางสังคมของชุมชนต่างวัฒนธรรม ได้แก่ พื้นที่เฉพาะทางสังคมของชาวไทยพุทธ พื้นที่เฉพาะทางสังคมของชาวไทยมุสลิม พื้นที่เฉพาะทางสังคมของชาวไทยพุทธที่ชาวไทยมุสลิมสามารถเข้าไปร่วมใช้ พื้นที่ได้ในบางโอกาส พื้นที่เฉพาะทางสังคมของชาวไทยมุสลิมที่ชาวไทยพุทธสามารถเข้าไปร่วมใช้พื้นที่ได้ในบางโอกาส และพื้นที่ร่วมทางสังคมของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม โดยการปฏิสัมพันธ์ของคนสองกลุ่มวัฒนธรรมนี้ผ่านความเป็นเพื่อนที่ร่วมเรียนหนังสือมาด้วยกันตั้งแต่วัยเยาว์และความเป็นเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถถอดโครงสร้างของพื้นที่สาธารณะภายในชุมชนผ่านรูปแบบของลำดับความสำคัญระดับชุมชนและความเชื่อมโยงของการใช้พื้นที่ โดยที่พื้นที่สาธารณะหลักของแต่ละชุมชนต่างวัฒนธรรมคือพื้นที่ทางศาสนา มีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ร่วมทางสังคมที่มีลำดับความสำคัญรองลงมาซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ อันได้แก่ โรงเรียนสายสามัญ ที่ทำการชุมชน ท่าเรือและศาลาพักผ่อน ลานหน้าโรงเรียนมัซลาฮาตุ้ลอิสลาม พื้นที่หน้าร้านค้าและร้านอาหารฮาลาล รวมถึงพื้นที่บริเวณบ้านบุคคลสำคัญในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน โต๊ะครูและโต๊ะอิหม่าม เป็นต้น อันเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน ท้ายที่สุดการศึกษานี้ได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบพื้นที่ว่างสาธารณะ อันเป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีอยู่ให้ เหมาะสมกับบริบทที่เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | The main purpose of the study is a study of ways of the living in Wat Kajorn Siri communities and Al-Iatisom Mosque communities that are communities of different culture. Site surveying, observations and interviews with the leaders of communities, teachers, imam and the committees of communities were used as the research methodologies. Including of studying unique lifestyle of Thai Buddhists and Thai Muslims from the document texts that on issues such as patterns and manners of settlement of communities that are combination of Thai Buddhists and Thai Muslims, religious practices related to lifestyle and land use, include unique similarities and differences in the area of the Thai Buddhists and Thai Muslims communities. Bangkok is one of largest of Thailand that has a population of Buddhists and Muslims live together. The settlement is unique. The centers of the communities are Places of Worship such as Thai Buddhist temple and Muslim Mosque through households that coexist. This study aimed to study the similarities and differences in the behavior of people using the area from two groups: the first is Thai Buddhist in Wat Kajornsiri community; the second is the Thai Muslims in Al-Iatisom Mosque community that is Sunni Muslims. The condition is two communities located in areas close proximity. Regard as a case study to demonstrate ways of living in coexistence between Thai Buddhists and Thai Muslims. The findings of these studies are type of specific areas and joint social areas of each community; specific areas of the Buddhist society, specific areas of the Muslim society, Specific areas of Buddhist social Muslims can share space on occasion, Specific areas of Muslim social Buddhists can share space on occasion and the joint social of Thai Buddhists and Thai Muslims. The interaction of both cultural groups is a relationship through a neighbor and a friend studying together from childhood. The structures of public spaces inside the communities were clarified through the form of community priorities and linkage of land use. The main public area of each community is a religious place linked to semi-public social spaces with the second priorities that are school areas, community office, floating pier and waterfront pavilions, Maslahatul-Islam schoolyard, retail spaces, Halal restaurants and nearby area of the important persons of communities such as leaders of communities, teachers and imam. Finally, this study proposes design guidelines for public space which can approach to improve the existing public space to fit the context associated with the space efficiently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20786 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2134 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2134 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tantipa_we_front.pdf | 567.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch1.pdf | 790.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch2.pdf | 704.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch3.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch4.pdf | 22.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch5.pdf | 19.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch6.pdf | 9.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch7.pdf | 16.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_ch8.pdf | 249.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tantipa_we_back.pdf | 281.38 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.