Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20788
Title: | ประสิทธิภาพการระบายอากาศของปล่องระบายอากาศสำหรับอาคารอยู่อาศัยรวมในประเทศไทย |
Other Titles: | Ventilation efficiency of stack ventilation for apartments in Thailand |
Authors: | สุพจน์ ปริญญาเปรื่อง |
Advisors: | ธนิต จินดาวณิค |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- การระบายอากาศ การระบายอากาศ Dwellings -- Ventilation Ventilation |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศไทยมีลักษณะร้อนอบอ้าวเกือบตลอดทั้งปี ดังนั้นกระแสลมที่เข้าสู่อาคารจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยระบายอากาศ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการออกแบบปล่องระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องพัก สำหรับอาคารอยู่อาศัยรวมในประเทศไทยโดยงานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อหาประสิทธิภาพการระบายอากาศของปล่องการระบายอากาศในสภาพแวดล้อมและสถานที่จริง โดยเริ่มต้นการทดลองด้วยการคำนวณหาขนาดและรูปแบบของปล่องระบายอากาศที่เหมาะสม ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ จากนั้นทำการก่อสร้างปล่องการระบายอากาศจริงขนาดกว้าง 1.00 ม. ยาว 2.90 ม. สูง 2.80 ม. โดยติดตั้งปล่องบนดาดฟ้าอาคารและเชื่อมต่อท่อระบายอากาศพีวีซี ขนาด ø8 นิ้ว ยาว 10 ม. มายังห้องพักที่ใช้เป็นห้องทดลอง จากนั้นทำการเก็บข้อมูล อันได้แก่ อุณหภูมิ อากาศ ความเร็วลม และอัตราการระบายอากาศที่เกิดขึ้นจริงในห้องพัก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากห้องพักข้างเคียงซึ่งมีสภาพดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่าอัตราการระบายอากาศภายในห้องพักของห้องทดลองที่มีการติดตั้งปล่องระบายอากาศนั้น มีอัตราการระบายอากาศที่เพิ่มมากขึ้นกว่าห้องพักแบบดั้งเดิม โดยอัตราการระบายอากาศภายในห้องพักที่มีการติดตั้งท่อระบายอากาศมีค่าโดยเฉลี่ยเป็น 3 เท่าของอัตราการระบายอากาศภายในห้องพักแบบดั้งเดิมในช่วงเวลากลางคืน มีค่าโดยเฉลี่ยเป็น 8.75 เท่าในช่วงเวลากลางวันและมีค่าโดยเฉลี่ยเป็น 6 เท่าในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้ได้ข้อสรุปว่าปล่องระบายอากาศสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาคารอยู่อาศัยรวมในประเทศไทยเพื่อเพิ่มอัตราการระบายอากาศภายในห้องพักได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอุณหภูมิอากาศภายในอาคารและภายนอกอาคารมีความแตกต่างกันอย่างมากที่สุด |
Other Abstract: | Since Thailand in the tropical zone, drafts entering a building play an important role in cooling it. The Objectives of this study were to design an appropriate ventilation stack to increase the ventilation efficiency in apartment in Thailand and to determine the ventilation efficiency of stack ventilation in apartments. The ventilation stack, which was 1.00 m. in width x 2.90 m. in length x and 2.80 m. in height, was tested in the real setting. One end of the stack was on the rooftop and the other end was connected with a PVC tube Ø8 inches x 10 m. in length, which ran to the experimental room. The collected data included the air temperature, the wind speed and the rate of ventilation. They were compared with those in the adjacent room whose ventilation system was not modified or the control room. It was found that the rate of the ventilation in the experimental room was three times as much as that in the control room during the night and 8.75 times as much as that of the control room during the day. During 24 hours, the rate of ventilation in the experimental room was six times as much as that in the control room. It can be concluded that the new ventilation stack can be used in an apartment to increase the ventilation efficiency at any time of the day, especially during days when the temperature outside the building and that inside the building is highly different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20788 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2118 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2118 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supoj_pa.pdf | 6.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.