Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20859
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางด้านพาณิชยกรรมของย่านการค้าศูนย์กลางเมืองชลบุรี |
Other Titles: | Factors influencing the change of commercial roles of Chonburi city center |
Authors: | ธรรมศักดิ์ สงกา |
Advisors: | พนิต ภู่จินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเปลี่ยนแปลงทางสังคม -- ไทย -- ชลบุรี ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- ชลบุรี ชลบุรี -- การค้า |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพาณิชยกรรมของย่านศูนย์กลางเมืองชลบุรี จากการศึกษาพบว่า ย่านศูนย์กลางเมืองชลบุรีมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางด้านพาณิชยกรรม 4 ช่วงเวลาด้วยรูปแบบทางด้านพาณิชยกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม (2) อาคารของสถานประกอบการ (3) ลักษณะประเภทสินค้า จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ด้วยการพิจารณาคัดเลือกตัวแปรที่เป็นปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม มาใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณทั้งหมด 12 ปัจจัย ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบตารางไขว้ (Cross Table Analysis) ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงย่านการค้าศูนย์กลางเมืองชลบุรี ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (2) ความสะดวกจากการเข้าถึง (3) การขยายตัวของที่อยู่อาศัย (4) รายได้ประชากร (5) ลักษณะการประกอบอาชีพของประชากรเมือง (6) ลักษณะของประชากร (7) การขยายตัวของย่านการค้าชานเมือง และ (8) ปัจจัยนโยบาย กฎหมาย ข้อกำหนดจากภาครัฐ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การสร้างถนนสุขุมวิทผ่านพื้นที่เมืองชลบุรีทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างตัวเมืองกับพื้นที่โดยรอบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งได้ถูกวางแผนให้เป็นเมืองหลักเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก ทำให้เมืองชลบุรีมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยขยายตัวเป็นจำนวนมาก ประชากรเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพจากประมงเป็นอาชีพพาณิชยกรรมเป็นหลัก ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นจากระดับรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เกิดการขยายตัวของสถานประกอบการและห้างสรรพสินค้า ทำให้เมืองชลบุรีมีบทบาทความเป็นศูนย์กลางทางด้านพาณิชยกรรมรองรับทั้งในระดับเมืองและในระดับภูมิภาค นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ธุรกิจข้ามชาติที่มีสินค้าและบริการที่หลากหลายได้ขยายตัวไปยังเขตชานเมืองชลบุรี เพื่อให้บริการแบบจุดเดียวครบสมบูรณ์แก่ประชาชน อีกทั้งมีทำเลที่ตั้งที่สามารถเข้าถึงได้ดีกว่าย่านการค้าในเขตศูนย์กลางเมืองชลบุรีโดยผ่านถนนสุขุมวิท (สายเลี่ยงเมือง) ทำให้ปัจจุบันย่านศูนย์กลางเมืองชลบุรีมีบทบาทความเป็นศูนย์กลางการค้าลดลงและรูปแบบทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความเป็นย่านศูนย์การค้าเฉพาะมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการทางการแพทย์. |
Other Abstract: | This thesis aims to study the changes in commercial roles Chonburi’s city center. The study indicates that there are 4 main period of changes within 3 patterns; (1) commercial landuse (2) commercial building use, and (3) categories of selling commodity and services. In the next step, factors, related to those changes, were indicated. They are analyzed by Cross Table Analysis method through the 12 selected physical, economic and social variables. The results point out that major factors, affecting changes of Chonburi’s commercial center, are (1) development of transportation system (2) accessibility (3) expansion of residential area (4) income citizen’s (5) occupation’s characters of citizen (6) population structure (7) expansion of suburban commercial district and (8) related public policy. It can be concluded that the construction of Sukhumvit National Highway led to the better linkage between Chonburi’s city center and its vicinity. Along with the national policy for developing the city as the main urban core of Eastern Sea Board Project, the city has been dramitically increased its economic value. This situation leads to the expansion of residential areas and the switching from fishery to commercial jobs. City’s dweller has got higher income which leads to their better quality of life. The number of shops and department stores has been increased in order to support the additional demand. Those changes brought Chonburi’s city to a major commercial center, both in provincial and regional scale. Since 1998, cross national modern trades, contained with a wide variety of commodity and services, have been gradually expanded to the suburb offering one-stop service to the people, and also provides the better accessibility through Sukhumvit Road (By-pass Route). As a result, Chonburi’s city center has decreased in the term of commercial roles. In contrast, the pattern of its commercial character has been to more specific commodity and services, especially the role in medical service. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20859 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2090 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2090 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thammasak_so.pdf | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.