Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21104
Title: ผลของการเสริมแรงบวกโดยการวางเงื่อนไข เป็นกลุ่มต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง
Other Titles: Effects of positive reinforcement by group contingency on the English learning achievement of mathayom suksa two students
Authors: ปราณี สถาปิตานนท์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ -- การวัดผล
การเสริมแรง (จิตวิทยา)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้การเสริมแรงบวก โดยการวางเงื่อนไขเป็นกลุ่มในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ จ. นครปฐม จำนวน 32 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษเฉลี่ยตลอด 3 เทอมที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน กลุ่มควบคุม 16 คน การวิจัยนี้ใช้การทดลองแบบกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองทดสอบหลังการทดลอง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบเดียวกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรโดยการวางเงื่อนไขเป็นกลุ่ม เมื่อคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบวิชาภาษาอังกฤษถึงเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการเสริมแรงหลังจากการทดลองสิ้นสุดลง ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่สอนทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนจากแบบทดสอบวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลอง ด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t-test) พบว่ากลุ่มทดลองสามารถทำคะแนนจากแบบทดสอบวิชาภาษาอังกฤษได้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to study the effects of the positive reinforcement by group contingency on the English learning achievement. The subjects were 32 students in Mathayom Suksa Two at Nguiraiboon¬meerungsarit School, Nakorn Pathom, each of which had English mean scores about 50 percent of the English scores in the last three terms. Each group was composed of 16 students. The post-test control group design was used in this study. Both groups were taught in the same method. However, the experimental group received the token reinforcement by group contingency when they reach the criteria score on the English exerciexs or tests while the control group received nothing. After the treatment, both groups were tested through the English test designed by the researcher based on the purposes and contents taught. The t- test was utilized to analyze the data. The results indicated that there was significant difference between the contral group and the experimental group at the .05 level on English score of the test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21104
ISBN: 9745644196
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_St_front.pdf304.32 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_ch1.pdf475.64 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_ch2.pdf276.73 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_ch3.pdf317.48 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_ch4.pdf264.3 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_ch5.pdf243.94 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_St_back.pdf367.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.