Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21146
Title: ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำต่อการกระจายรายได้ของแรงงานไร้ทักษะทั้งในระบบและนอกระบบ
Other Titles: The Impact of minimum wage on the distribution of income of unskilled formal and informal labour
Authors: อังคณา สิทธิการ
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ค่าจ้างขั้นต่ำ -- ไทย
แรงงานไม่มีฝีมือ -- ไทย
การกระจายรายได้ -- ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แรงงานถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่าแรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังได้รับค่าจ้างที่ต่ำ โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ จำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือโดยการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำไม่เพียงส่งผลกระทบต่อแรงงานไร้ทักษะในระบบ แต่ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานกลุ่มอื่นในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะนอกระบบที่เป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ในประเทศ การศึกษาในครั้งนี้จึงได้ศึกษาว่านโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลดีต่อแรงงานไร้ทักษะในระบบตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ และนอกจากนั้นยังศึกษาผลกระทบของนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีต่อแรงงานไร้ทักษะนอกระบบที่เป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ในประเทศ โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable general equilibrium: CGE model) และบัญชีเมตริกซ์สังคมปี พ.ศ. 2549 (Social accounting matrix: SAM 2006) ในการศึกษา ผลการศึกษาชี้ว่าเมื่อรัฐบาลประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลทำให้แรงงานไร้ทักษะในระบบมีค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาทางด้านการจ้างงานกลับพบว่า แรงงานกลุ่มนี้มีการจ้างงานที่ลดลง ส่วนแรงงานไร้ทักษะนอกระบบมีค่าจ้างลดลง เนื่องมาจากแรงงานไร้ทักษะในระบบที่ถูกเลิกจ้าง ได้เข้ามาทำงานในตลาดแรงงานนอกระบบ นอกจากนี้ยังพบว่า การที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำยังส่งผลให้ครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนครัวเรือนรายได้ต่ำกลับมีรายได้ที่ลดลง ส่วนภาคการผลิตมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ เนื่องมาจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพื่อที่ไม่ให้แรงงานไร้ทักษะนอกระบบได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือแรงงานกลุ่มนี้
Other Abstract: It cannot be denied that labour is one of the main manufacturing factors of Thailand. The unskilled labours in Thailand, however, still receive a low wage, thus,the Thai government has to implement the minimum wage policy to help them. As a result, the policy not only improves the unskilled formal labours’ wage, but also has a vast impact on other group of labours, especially the unskilled informal labour who are the major group. This study aims to discuss whether the unskilled formal labours are benefited from the minimum wage policy, and whether the other groups of labours are affected by the policy. The computable general equilibrium model (CGE model) and social accounting matrix (SAM 2006) will be used as a mean for determination. In this regard, the study has found that the unskilled formal labours are benefited from the policy as their wage will increase but the demand for them in the market will be reduced. At the same time, the unskilled informal labours’ wage is also reduced. In addition, the implementation of the policy has sharply affected the economic system, especially the household income. Households in the middle and high income classes are more benefited than those with low income. The policy also leads to an increase in the cost of production, increase domestic price which has put more burdens on households’ expenses, especially those with low income. The government, therefore, should take measures, such as social welfare, to help/secure them.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21146
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1949
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkana_si.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.