Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21297
Title: ปัจจัยทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
Other Titles: Predictive factors of delirium in hospitalized elderly patients in orthopaedic -surgical wards
Authors: จินตนา สินธุสุวรรณ์
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วย
ศัลยกรรมออร์โทพีดิกส์ -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะอิเล็กโตรไลต์ ความรุนแรงของโรค การใช้ยาหลายชนิด การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว และการรับรู้ทางเชาวน์ปัญญา กับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ และศึกษาปัจจัยทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งได้รับกรวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบวัดความรุนแรงของโรค แบบประเมินการรับรู้ทางเชาวน์ปัญญา และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุ ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยง โดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีความเที่ยงเท่ากับ .80, .78, .84 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.18 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) 2.ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการรับรู้ทางเชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.438, -.541 ตามลำดับ) 3.ความรุนแรงของโรค และการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.593, .256 ตามลำดับ) 4.ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุ ได้อย่างมีนัยสำคัญ คือความรุนแรงของโรค และการรับรู้ทางเชาวน์ปัญญา โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ร้อยละ 48.5 โดยมีสมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Ẑ ภาวะสับสนเฉียบพลัน = .465 Z₁ ความรุนแรงของโรค -.388 Z₂ การรับรู้ทางเชาวน์ปัญญา
Other Abstract: The purposes of this descriptive study research were to examine the relationships between factors related to delirium in hospitalized elderly patients in orthopaedic – surgical wards which were activity daily living, electrolyte, severity of illness, polypharmacy, immobilization, and cognitive function. Data were collected from 120 elderly patients who were purposively selected. Research instruments were demographic questionnaires, Barthel ADL Index, severity of illness, cognitive function, and delirium questionnaires which were tested for content validity and reliability. The reliability were .80, .78, .84, .70 respectively. Data were analyzed by using statistic methods, including mean, percentage, standard variation, Pearson’s Product Moment correlation, and stepwise multiple regression. Major findings were as follows : 1. Mean score of delirium among hospitalized elderly patients in orthopaedic – surgical wards was 14.18 (score above ten indicated delirium). 2. Activity daily living and cognitive function were significantly negative by correlated with delirium in hospitalized elderly patients in orthopaedic – surgical wards at level of .05 (r=-.438, -.541 respectively) 3. Severity of illness and immobilization were significantly positive by correlated with delirium in hospitalized elderly patients in orthopaedic – surgical wards at level of .05 (r=.593, .256 respectively) 4. Severity of illness and cognitive function were significantly predictive factors for delirium in hospitalized elderly patients in orthopaedic – surgical wards at level of .05 and accounted for 48.5 percent. The equation derived from standardize score as listed; Z Delirium in hospitalized elderly patients = .465 Z₁ Severity of illness -.388 Z₂ Cognitive function.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้สูงอายุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21297
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1024
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1024
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jintana_si.pdf13.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.