Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2153
Title: | ความปลอดภัยของการบริโภคสารสกัดเปลือกทุเรียน และการทำสารให้บริสุทธิ์ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Consumption safety of durian-rind extracts and purification |
Authors: | สุนันท์ พงษ์สามารถ สุชาดา สุขหร่อง ดวงเดือน เมฆสุริเยนทร์ |
Email: | [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมี ไม่มีข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมี |
Subjects: | เปลือกทุเรียน--วิเคราะห์และเคมี |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาทำให้หนูถีบจักรและหนูขาวเพศผู้ป้อนให้กินสารสกัดคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียนขนาดสูงมาก DF[subscript I] และ DF[subscript II] เป็นสารโพลี่แซคคาไรด์มีกลูโคสเป็นน้ำตาลหลักและมีน้ำตาลพวกแรมโนสและอราบิโนส ฟรุกโตสพบเฉพาะใน DF[subscript I] ทำการทดลองตรวจสอบการเกิดพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลองเมื่อให้กินขนาด 2 ก/กก. น้ำหนักตัว/1 วัน ของสาร DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] ไม่พบมีการตายหรือมีความเป็นพิษที่รุนแรงกับหนูถีบจักรและหนูขาวที่ให้กินสารทดลอง อย่างไรก็ดีในกลุ่มหนูถีบจักรพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวเพิ่มมีค่าต่ำมาก (p is less than or equal to 0.05) เป็นเวลา 3-4 วัน หลังวันให้กิน DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] ในขณะที่กลุ่มของหนูขาวแสดงผลนี้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเพิ่ม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (control) น้ำหนักสัมพัทธ์ของอวัยวะภายของสัตว์ทดลองไม่พบมีค่าความแตกต่างกันจากกลุ่มควบคุมของมัน ผลของความเป็นพิษอื่นๆ ตรวจสอบโดยวิเคราะห์เลือดและซีรั่ม โดยวิธีทางโลหิตวิทยาและทางคลินิก พบมีค่าต่างๆ ทางโลหิตวิทยาเป็นปกติในสัตว์ที่ทดลอง การตรวจซีรั่มทางคลินิกหาระดับของ กลูโคส โคเลสเตอรอล ครีอตินีน และ บียูเอ็น (blood urea nitrogen) ไม่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในหนูถีบจักรและหนูขาว ไม่พบพยาธิสภาพของตับซึ่งตรวจสอบโดยการวัดระดับเอนไซม์ ALP SGOT และ SGPT ในซีรั่ม ผลของค่าเอนไซม์เหล่านี้ในหนูถีบจักรและหนูขาวในกลุ่มทดลองพบมีค่าปกติไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมของมัน ถึงแม้จะพบว่าในหนูขาวกลุ่มทดลองให้ผลของระดับ BUN ในซีรั่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงเล็กน้อย ซึ่งไม่แสดงถึงการทำลายตับ ผลการทดลองเหล่านี้เสนอแนะได้ว่า การให้กินขนาดสูงของ DF[subscript I] หรือ DF[subscript II] (2 ก./กก./1 วัน) ไม่ทำให้เกิดพิษรุนแรงในหนูถีบจักรและหนูขาวที่ใช้ทดลองในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษาระยะยาวโดยทำการทดลองในหนูถีบจักรป้อนให้กินสารตัวอย่าง DF[subscript II] และ DF[subscript I] ให้หนูกินเป็นเวลานาน 60 วันในหนูเพศผู้และ 100 วันในหนูเพศเมีย กลุ่มทดลองหนูเพศผู้และเพศเมียได้รับการป้อนสาร DF[subscript II] ขนาด 0.5 และ 0.25 ก./กก./วัน ป้อนสาร DF[subscript I] และป้อนเพคตินแทนสารมาตรฐาน ขนาด 0.25 ก./กก./วัน ให้หนูทุกตัวกินอาหารและน้ำไม่จำกัด สังเกตการเพิ่มของน้ำหนักตัวพบน้ำหนักเพิ่มสัมพัทธ์ต่อ 100 กรัมน้ำหนักตัวเริ่มต้นของกลุ่มให้กิน DF[subscript II]DF[subscript I] เพคตินและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยของการเพิ่มน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มที่ให้กิน DF[subscript II] 0.5 ก./กก./วัน จะค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมของมัน พฤติกรรมและความว่องไวของหนูกลุ่มทดลองพบเป็นปกติเหมือนกลุ่มควบคุม การตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาและชีวเคมีคลินิกของเลือดไม่พบความผิดปกติทางโลหิตวิทยาและไม่มีอาการโลหิตจาง มีระดับของกลูโคส โคเลสเตอรอลครีอตินีน บียูเอ็น และระดับของเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และทรานส์อมิเนส พวกเอสจีโอที และเอสจีพีที ในซีรั่ม มีค่าระดับปกติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงถึงการไม่มีพยาธิสภาพของตับและไตเกิดขึ้นในกลุ่มที่กินสารสกัดตลอดช่วงเวลาที่ให้กินสารตัวอย่าง อย่างไรก็ดีพบว่าการให้กิน DF[subscript II] แม้ในขนาดต่ำ คือ 0.25 ก./กก./วัน ดูเหมือนทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงมาอยู่ที่เกณฑ์ค่าปกติระดับต่ำพบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 110+-4 มก./ดล. และ 102+-5 มก./ดล. ในหนูเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ ในขณะที่ของกลุ่มควบคุมพบระดับปกติของโคเลสเตอรอลในซีรั่มที่ 133+-27 มก./ดล. และ 132+-14 มก./ดล. ในหนูเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ ผลของการเกิดลูกของหนูทั้งจำนวนและการเจริญเติบโตของลูกเฝ้าดูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบเป็นปกติไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของจำนวนลูกและของการเพิ่มน้ำหนักไม่ต่ำกว่าที่พบในกลุ่มควบคุมขณะให้แม่กิน DF[subscript II]และ DF[subscript I] ในระยะยาวเป็นเวลานาน 100 วัน การทดสอบความเป็นพิษรองเรื้อรังในการศึกษานี้ดูเหมือนเสนอแนะให้ว่าสารสกัดจากเปลือกผลทุเรียนอาจใช้บริโภคในระยะยาวได้ปลอดภัยในหนูถีบจักร การสกัดโพลี่แซคคาไรด์จากเปลือกของผลทุเรียนได้สารสกัด DF[subscript I] เป็นสารสกัดหยาบสกัดได้สาร DF[subscript II] ที่บริสุทธิ์ขึ้น สารสกัดนี้เป็นโพลี่แซคคาไรด์ที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล glucose rhamnose arabinose (3:1:1) ใน DF[subscript II] และหลังจากทำให้ให้สารบริสุทธิ์โดยวิธี column chromatography ใช้ Sephadex LH 20 จะได้สารสกัด CDF[subscript II] ที่บริสุทธิ์มากขึ้นและได้สารทั้งหมด 73.6 % หลังจากการผ่าน column chromatography การตรวจวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดโพลี่แซคคาไรด์ยังมีส่วนประกอบของ uronic acid จากการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับ carbazole reagent และ m-hydroxydiphenyl reagent และการตรวจวิเคราะห์จาก IR spectrum พบว่ามีโครงสร้างของหมู่ carboxyl ในสารสกัด จากผลนี้เสนอแนะว่ามีส่วนประกอบของพวก uronic acid อยู่ด้วย ในโครงสร้างของโพลี่แซคคาไรด์สกัดจากเปลือกผลทุเรียน |
Other Abstract: | The studies were performed on male mice and rats fed with a high dose of carbohydrate extracts from fruit-hulls of durian, DF[subscript I] and DF[subscript II], the polysaccharides containing glucose as a major component and including rhamnose and arabinose, fructose was found only in DF[subscript I]. The experiments were conducted to investigate their acute toxicity in animals feeding with 2g/kg body weight/l day of DF[subscript I] or DF[subscript II]. Neither mortality nor severe toxicity was found in treated mice and rats. However, a very low mean body weight gain (p isles than or equal to 0.05) was observed for 3-4 days after the day treated with DF[subscript I] or DF[subscript II] in mice groups. Whereas ingroups of treated rats showed the results of not significantly difference (p>0.05) in body weight gain increasing profile in comparison to their control groups. The relative organ weights in treated animals were not different from their control groups. Other toxic effects were investigated by hematological and clinical analyses of animal blood and serum. Normal hematologic results were obtained in treated animals. The clinical tests of serum level of glucose, cholesterol, creatinine and blood urea nitrogen (BUN) were not significantly difference (p>0.05) between control groups and treated mice or rats. Pathological change of liver was also investigated by determining the enzyme level of ALP, SGOT and SGPT in serum. No pathological changes were observed according to the results of enzyme levels in treated mice and rats in comparison to their control groups, although in treated rats showed the result of a little higher mean value of BUN in serum. The results suggested no indication of liver damage in treated rats. These results suggested that a high oral dose of DF[subscript I] or DF[subscript II] (2 g/kg/lday) did not cause severe toxicity in mice and rats under this study. The studies were performed on mice fed with DF[subscript II] and DF[subscript I], for a long-term period of 60 days in male and 100days in female groups. DF[subscript II] was fed 0.5 and 0.25 g/kg/d, DF[subscript I] and pectin as a standard were fed 0.25 g/kg/d to different groups of male and female mice, respectirely. All mice received mice chow and water ad libitum. Body weight gain was determined, relative body weight gain in groups fed with DF[subscript II], DF[subscript I], pectin and their control groups were not significantly difference (p>0.05). However, mean value of relative weight gain in group feed with DF[subscript II] 0.5 g/kg/d was rather low in comparison to the control group. Behavior and activities of mice treated with the extracts were found normal as the same as their control group. Hematological and clinical test of blood were determined, abnormal hematologic profile or anemia was not observed. The serum levels of glucose, cholesterol, creatinine, BUN and enzyme alkaline phosphatase, transaminase of SGOT and SGPT were found normal in comparison to their control group. No liver or kidney damage were found in treatedgroups during feeding period. However, DF[subscript II] at the low feeding dose of 0.25 g/kg seemed to keep serum cholesterol at the low normal level, the mean values of 110+-4 mg/dl and 102+-5 mg/dl were observed in male and female groups, respectively. The control groups showed normal values of serum cholesterol at 133+-27 mg/dl and 132+-14 mg/dl in male and female groups, respectively. Their offspring and its growth rate, observing for 4 weeks, were found normal similar to their control, mean values of offsprings per litter and their body weight gain were similar to and not lower than the control group, during mother was feeding with DF[subscript II] and DF[subscript I] for the period of 100 days. Subchronic toxicity test in this studies seemed to suggest that extracts from durian fruit-hulls were consumed safely for a long-term period in mice. Polysaccharides were extracted from durian fruit-hulls. DF[subscript I] was a crude extract, and a more purified fraction was DF[subscript II]. This extract was polysaccharide, its sugars consisted of glucose rhamnose and arabinose in the ratio of 3:1:1 in DF[subscript II]. After purifed by technique of column chromatography using Sephadex LH20, a more purified CDF[subscript II] was at 73.6% yield recovered from the column. Primary structure investigation of its polysaccharide also suggested the existence of uronic acid according to their chemical reaction with the carbazole and m-hydroxydiphenyl reagents, and the IR spectrum illustrated the presence of carboxyl group. The results suggested the existing of uronic acid in polysaccharide structure of the extracts from durian fruit-hulls. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2153 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SunantaCon.pdf | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.