Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21796
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนกับความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Relationship between personal growth initiative and anxiety of Mathayomsuksa 6 students in the university admission examination: the mediating effect of coping
Authors: พิชามญชุ์ บุญสิทธิ์
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความวิตกกังวลในการสอบ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
จิตบำบัดแบบเผชิญความจริง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนกับความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังอยู่ระหว่างการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยโดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านพหุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่อยู่ในระหว่างการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จำนวน 385 คน แบ่งเป็นเพศชาย 119 คน และเพศหญิง 266 คน ผลการวิจัยพบว่า การริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยและการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหา (r = -.25 และ r = -.19, p < .01 ตามลำดับ) และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญปัญหา 2 รูปแบบ โดยสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหา (r = .52, p < .01) และสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (r = .20, p < .01) ส่วนการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมและการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหานั้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย (r = .19 และ r = .56, p < .01 ตามลำดับ) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน พบว่าการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนส่งผลโดยตรงต่อความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระดับ -.33 (p < .05) และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนส่งผลทางอ้อมผ่านการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมไปยังความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระดับ .06 (p < .05) ส่วนการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนส่งผลทางอ้อมผ่านการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหาไปยังความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระดับ -.27 (p < .001) รวมทั้งการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนส่งผลโดยรวมต่อความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยมีค่าเท่ากับ -.68 (p < .001) ดังนั้นการทดสอบการส่งผ่านพหุพบว่าการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนส่งผลต่อความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมและการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Abstract: This study aims to investigate the relationship between personal growth initiative and test anxiety of mathayomsuksa 6 students in the university admission examination with coping as mediating variables. Participants were 385 (119 male and 266 female) mathayomsuksa 6 students. Results showed that personal growth initiative had negative correlation with test anxiety (r = -.25, p < .01) and avoidance coping (r = -.19, p < .01) whereas personal growth initiative had positive correlation with problem focused coping (r = .52, p < .01) and seeking social support coping (r = .20, p < .01). Both seeking social support coping (r = .19,p < .01) and the avoidance coping (r = .56, p < .01) had positive correlation with test anxiety. Results from the mediating variables analysis showed that personal growth initiative had a direct impact on test anxiety at the level of -.33 (p < .05) and personal growth initiative had an indirect impact on test anxiety via seeking social support coping at the level of .06 (p < .05). Personal growth initiative had an indirect impact on test anxiety via avoidance coping at the level of -.27 (p < .001) and the personal growth initiative had an overall impact on test anxiety at the level of -.68 (p < .001) In conclusion, seeking social support and avoidance coping had mediating effect on the association between personal growth initiative and test anxiety of mathayomsuksa 6 students in the university admission examination.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21796
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.486
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.486
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pichamon_bo.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.