Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22255
Title: | การใช้ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมัน |
Other Titles: | Use of agro-industrial waste as nutrient source for oil palm tree |
Authors: | ณัฐกานต์ ทู้ไพเราะ |
Advisors: | อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ของเสียทางการเกษตร การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ ปาล์มน้ำมัน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาการใช้ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมันระยะโตเต็มที่ ที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์(RCBD) ทำ 4 ซ้ำ มี 6 ตำรับทดลอง ประกอบด้วย ดินเดิมไม่เติมสิ่งทดลอง การเติมปุ๋ยเคมี และการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตร (กากขี้แป้ง กากตะกอนน้ำเสีย เส้นใยปาล์มน้ำมันและขี้เถ้า ปาล์มน้ำมัน) 4 อัตรา การศึกษาครั้งนี้มี 24 หน่วยทดลอง โดยหนึ่งหน่วยทดลองคือต้นปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอราอายุ 5 ปี จำนวน 9 ต้น ผลการศึกษาพบว่าการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรส่งผลให้การเติบโต (พื้นที่ทางใบ ความยาวทางใบ พื้นที่หน้าตัดแกนทางใบ และจำนวนทางใบเพิ่ม) ของต้นปาล์มน้ำมันได้เท่าเทียมและดีกว่าการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.5)ทั้งนี้การเติมกากขี้แป้งร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียเส้นใยปาล์มน้ำมัน และขี้เถ้าปาล์มน้ำมัน (3:1:1:1) อัตรา 15 กก./ต้น ส่งผลให้ดินเพิ่มความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุอาหาร (N, P, Mg และ Zn) มากกว่าการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณจุลธาตุสังกะสี(Zn)ที่พบเป็นประโยชน์ต่อต้นปาล์มน้ำมันและอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานดิน อีกทั้งมีประสิทธิภาพการดูดดึงไนโตรเจนแตกต่างการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรตำรับอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(p<0.1) นอกจากนี้การเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในใบปาล์มน้ำมันไม่แตกต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมี และสามารถรักษาระดับแมกนีเซียมในใบปาล์มน้ำมันให้สูงกว่าค่าวิกฤตได้ กล่าวได้ว่า ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรสามารถใช้ประโยชน์เป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมันได้ นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์กลับคืนสู่พื้นที่การเกษตรได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และลดปัญหามลพิษทางดินและน้ำจาก ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตร |
Other Abstract: | Use of agro-industrial waste as nutrient source for mature oil palm tree (Tenera) was conducted at Suratthani Oil Palm Research Center. The experimental design was randomized complete block design (RCBD) with 4 replications and 6 treatments (para rubber sludge mixed with wastewater sludge, oil palm fiber press, oil palm ash, chemical fertilizer and control). One experimental unit was 9 young mature oil palm tree. The results showed that application of agro-industrial waste affected on growth (leaf area, Leaf length,petiole cross section and leaf production rate) of oil palm tree better than or equalto that of chemical fertilizer significantly. Para rubber sludge, wastewater sludge, oil palm fiber press and oil palm ash (3:1:1:1) applied into the soil15 kg/palm resulted in increased of pH, organic matter,nutrients (N, P, Mg, Zn) content higher than that of chemical fertilizer significantly. Moreover, Zinc content in the soils was within standard of soil quality for oil palm tree. Furthermore, recovery efficiency of nitrogen uptake was significant difference from another treatments of agro-industrial waste. In addition, applied with agro-industrial waste of all treatments increased potassium content and stabilized magnesium content within critical level in the leaf of oil palm tree significantly compared with chemical fertilizer application. Thus, agro-industrial waste could be used as an alternative nutrient source for mature oil palm tree. This management not only return benefit back to agriculture but also reduced air, soil and water pollution from waste. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22255 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.856 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.856 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
natthakarn_to.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.