Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22264
Title: การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
Other Titles: Development of a model and mechanisms of management towards excellence for institute of physical education
Authors: ยุวลักษณ์ เส้งหวาน
Advisors: อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548
พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ประกันคุณภาพการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
Physical education and training -- Study and teaching (Higher)
Universities and colleges -- Administration
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ พัฒนารูปแบบและนำเสนอกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1) การสอบถาม โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรที่มีลักษณะต่างกัน 50/50 มีความคลาดเคลื่อนจากการสุ่ม 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กับผู้บริหารและอาจารย์ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 109 คน อาจารย์ จำนวน 260 คน 2) การสัมภาษณ์ ผู้บริหาร จำนวน 27 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) การจัดประชุมจัดทำวงล้ออนาคต ผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 12 คน อาจารย์ จำนวน 7 คน 4) การประเมินร่างรูปแบบและกลไกฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 คน 5) การจัดประชุมโดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม เทคนิควงล้ออนาคต แบบประเมิน ร่างรูปแบบและกลไกฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา 8 ยุทธศาสตร์สอดคล้องกับผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา รอบที่สอง (พ.ศ. 2549-2553) 2. การบริหารจัดการทุกด้านของระดับการปฏิบัติปัจจุบันและการปฏิบัติที่พึงประสงค์มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอันดับความสำคัญของผลการประเมินความต้องการจำเป็น อันดับแรกคือ การบริหารงานวิจัย อันดับที่สองคือ การบริหารนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอันดับที่สาม คือ การบริหารจัดการทรัพยากร 3. รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วยการบริหาร 8 ด้าน ได้แก่ 1) ระบบการบริหารและโครงสร้างสถาบันการพลศึกษา 2) การบริหารจัดการทรัพยากร 3) การบริหารงานวิชาการและกิจกรรมพัฒนานักศึกษา 4) การบริหารงานวิจัย 5) การบริหารนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6) การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบริหารคุณภาพการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา 8) การพัฒนาการกีฬา 4. กลไกในการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 8 วงล้อ 38 กลไก ได้แก่ วงล้อที่หนึ่ง 7 กลไก วงล้อที่สอง 3 กลไก วงล้อที่สาม 7 กลไก วงล้อที่สี่ 4 กลไก วงล้อที่ห้า 4 กลไก วงล้อที่หก 2 กลไก วงล้อที่เจ็ด 2 กลไก วงล้อที่แปด 9 กลไก
Other Abstract: To analyze the educational quality assessment results in accordance with the strategies of Institute of Physical Education; to analyze the needs assessment to manage Institute of Physical Education towards excellence; and, to develop and present model and mechanisms for the management of Institute of Physical Education towards excellence. Different tools were used to collect data from the sample groups: 1) questionnaire with 369 administrators and lecturers (109 administrators and 260 lecturers) with 50/50 sample group size difference, 5% sampling error and 95% level of confidence; 2) interview with twenty-seven administrators and five experts; 3) future wheels meeting with nineteen administrators and lecturers (twelve administrators and seven lecturers); 4) assessment of model and mechanisms by sixteen experts; and, 5) connoisseurship with ten experts. The tools used in the research are document analysis forms, questionnaire, interview forms, future wheels techniques, and, model and mechanisms assessment forms. Data analysis includes content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNI Modified) and t-test. The findings of this research are as follows: 1. The eight strategies of Institute of Physical Education correspond with the results of the second phase of higher education external quality assessment (2006-2010). 2. All management aspects of the current operation and the desired practices are of .01 statistically significant difference. The needs assessment has ranked research management as the first priority, innovation and information and communication technology management as the second priority; and, resource management as the third priority. 3. The model of management of Institute of Physical Education towards excellence comprises eight areas of management: 1) managerial system and structure of the Institute of Physical Education; 2) resource management; 3) academic affairs and student development activity management; 4) research management; 5) innovation and information and communication technology management; 6) academic service and artistic and cultural preservation; 7) education quality management and assurance; and, 8) athletic development. 4. Mechanisms for the management of Institute of Physical Education towards excellence comprise eight wheels and thirty-eight mechanisms: seven mechanisms on the first wheel, three mechanisms on the second wheel, seven mechanisms on the third wheel, four mechanisms on the fourth wheel, four mechanisms on the fifth wheel, two mechanisms on the sixth wheel, two mechanisms on the seventh wheel, and nine mechanisms on the eight wheel.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22264
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.865
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.865
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yuwalak_se.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.