Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22500
Title: | การปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยสู่โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว |
Other Titles: | Green adaptation of Thai industries |
Authors: | ปิยธิดา ตั้งตระกูลสมบัติ |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม การบริหารงานโลจิสติกส์ เทคโนโลยีสีเขียว วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ Industries -- Environmental aspects Business logistics Green technology Product life cycle Social responsibility of business |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาแรงผลักดันภายนอกที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย เข้าสู่โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว แรงผลักดันภายในที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และอุปสรรคที่มีผลต่อการปรับตัวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมถึง ความเข้าใจของผู้ประกอบการในเรื่องโลจิสติกส์สีเขียวว่า มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบรับรองจากโครงการฯ จำนวน 108 โรงงาน ผลการศึกษาพบว่า แรงผลักดันภายนอกที่มีผลต่อการปรับตัวเข้าสู่โครงการฯ มากที่สุด ได้แก่ แรงผลักดันด้านสังคม รองลงมา ได้แก่ ด้านการตลาดและลูกค้า ด้านการส่งเสริมทางการเงิน ด้านการแข่งขัน ด้านผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ตามลำดับ แรงผลักดันภายในที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวมากที่สุด ได้แก่ แรงผลักดันด้านนโยบายภายในองค์กร รองลงมา ได้แก่ ด้านทรัพยากรภายในองค์กร ด้านการเงินภายในองค์กร ตามลำดับ ส่วนอุปสรรคที่มีผลต่อการปรับตัวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวมากที่สุด ได้แก่ อุปสรรคภายนอกองค์กร รองลงมา ได้แก่ อุปสรรคด้านการเงินและอุปสรรคภายในองค์กรเอง ส่วนความเข้าใจในเรื่องโลจิสติกส์สีเขียวพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 34.3% ที่รู้จักโลจิสติกส์สีเขียว โดยมีความเข้าใจว่าโลจิสติกส์สีเขียวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และโลจิสติกส์สีเขียวยังเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมสีเขียวได้ นอกจากนี้พบว่ามีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รวมถึงควรมีการจัดอบรมความรู้ ให้คำปรึกษา และแนะนำแผนการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการนำไปปฏิบัติจริง และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม |
Other Abstract: | To study the external motivations leading the organizations to be in green industries, the internal motivations helping them to succeed in adaptation for being green industries, the obstacles of adaptation to be green industries. Moreover this research also studies the understanding of organizations about the relation between green logistics and green industries. This research is a survey research using questionnaires as a tool with 108 Thai Industries entrepreneurs that had the Certificate of Green Industry Project. It was found that the external motivations for Green Adaptation of Thai Industries are society, customers and market demand, money assistance, competition and supplier, respectively. The success of Green Adaptation was caused by the internal motivations firstly policy, resources, money, respectively. The obstacles affecting Green Adaptation are the outside obstacles, insufficient money and the inside obstacles respectively. Besides there are only 34.3% of the organizations that understood that green logistics can support green industries. Otherwise, they still need the government to publicize Green Industry Project, to education and to give them an advice for the implementation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22500 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.879 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.879 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyatida_th.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.