Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22564
Title: การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ยังไม่แสดงอาการด้วยวิธีการวัดอัตราส่วนความดันช่วงหัวใจบีบที่ข้อเท้ากับที่แขนในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ระยะต้น
Other Titles: Detection of subclinical atherosclerosis by ankle brachial index in patient with early rheumatoid arthritis
Authors: นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์
Advisors: มนาธิป โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
หลอดเลือดแดงแข็ง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ยังไม่มีอาการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปี เปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปที่มีอายุ เพศ โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและดัชนีมวลกายตรงกันวิธีดำเนินการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการด้วยวิธีการวัดอัตราส่วนความดันช่วงหัวใจบีบที่ข้อเท้ากับที่แขน (ankle brachial index; ABI) ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปีเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป ผลการศึกษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปีกับกลุ่มประชากรทั่วไปมีค่าเฉลี่ย ABI เท่ากัน คือ 1.06±0.07 โดยประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งไม่แตกต่างกันทั้ง อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ความยาวรอบเอว ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควรในครอบครัว สัดส่วนของคนที่เคยสูบบุหรี่ คนที่หมดประจาเดือน และผู้ที่ออกกำลังกายน้อย ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีคนที่มีค่า ABI ที่ผิดปกติชัดเจน คือ ≤ 0.9 เลย และยังมีสัดส่วนของคนที่มีค่า ABI อยู่ในช่วงก้ำกึ่ง (ABI = 0.90-0.99) และช่วงค่าปกติที่ค่อนข้างต่ำ (ABI = 1.00-1.09) ซึ่งมีหลักฐานว่าทั้งสองช่วงดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการมากกว่ากลุ่มที่มี ABI ปกติ (ABI = 1.10-1.29) ไม่แตกต่างกัน (p = 0.96) สรุปผลการศึกษา ไม่พบว่ามีความแตกต่างของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปี กับประชากรทั่วไป ที่มีอายุ เพศ โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และดัชนีมวลกายตรงกัน
Other Abstract: Objective: To evaluate subclinical atherosclerosis by ankle brachial index (ABI) measurement in patient with early rheumatoid arthritis (RA) compared with age-, sex-, body mass index (BMI)-, and atherosclerosis-associated underlying diseases matched healthy persons. Method: Forty-five patients with early RA who met the 2010 EULAR/ACR classification criteria for the classification of RA and disease duration of ≤ 3 years were included in this study. Smokers, patients with diabetes mellitus and previous cardiovascular events were excluded. Forty-five age-, sex-, BMI- and atherosclerotic-associated underlying diseases-matched volunteers were selected as controls. ABI were measured by a skilled staff unawared of the persons studied. Results: Patients with RA had similar traditional risk factors to those of controls, such as proportion of previous smokers, exercise < 3 times/week, and menopausal state. No significant difference in the mean BMI, waist circumference, blood pressure, fasting blood sugar, and lipid profiles. Mean ABI was 1.06±0.07 for RA patients and mean ABI was 1.06±0.07 for controls, (p = 0.96). Nobody has definite abnormal range ABI (ABI ≤ 0.9). In addition, both groups have similar proportion of persons with borderline and low normal ABI, which may indicate an increase risk of subclinical atherosclerosis. Conclusions: No diferrence in ABI between patients with early RA and matched controls. A significant abnormal ABI in RA patients was no demonstrated.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22564
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.891
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.891
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantharath_Wo.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.