Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22926
Title: | การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการประกอบรถยนต์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นและบริษัทจากประเทศเยอรมนี |
Other Titles: | Technology transfer in the automobile assembly : a case study of Japanese and German firms |
Authors: | กนกวรรณ บุษบกแก้ว |
Advisors: | วรัญญา ภัทรสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การถ่ายทอดเทคโนโลยี อุตสาหกรรมรถยนต์ |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้คือ เพื่อศึกษารูปแบบของการรับและวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ค่าใช้จ่ายในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความสามารถในการเรียนรู้ของบุคลากรชาวไทย ศักยภาพในการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีภายหลังรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทผู้ประกอบรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมนีรวม 6 บริษัท เป็นของญี่ปุ่น 4 บริษัท และเยอรมนี 2 บริษัท การศึกษาใช้วิธีการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทตามประเด็นดังกล่าวข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า เทคโนโลยีที่รับในบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นและบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีมาจากบริษัทแม่เกือบทั้งหมด การรับเทคโนโลยีอยู่ในรูปของสัญญาซื้อขายเทคโนโลยี โดยมีลักษณะการจ่ายค่าเทคโนโลยีทั้งแบบเป็นก้อนและการจ่ายตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขายสุทธิประมาณ 3 % รูปแบบของการรับคือ การทำข้อตกลงทางด้านเครื่องหมายการค้า โดยมีผู้บริหารของบริษัทและบริษัทแม่เป็นผู้กำหนดทั้งบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นและบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีโดยเฉพาะในบริษัทร่วมทุนกับญี่ปุ่นนั้น บริษัทแม่เป็นผู้กำหนดข้อตกลงเกือบทั้งหมด ในด้านของข้อจำกัดนั้นพบว่าในบริษัทของญี่ปุ่นและบริษัทของเยอรมนีมีลักษณะคล้ายกัน คือ ข้อจำกัดด้านการตลาดที่ห้ามการส่งออกและการไม่ให้สิทธิ์เฉพาะ ข้อจำกัดด้านการพัฒนาเทคโนโลยี คือ การห้ามใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมและต้องใช้เทคโนโลยีจากบริษัทแม่ การยอมรับข้อปรับปรุงเพิ่มเติมจากผู้ให้ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นนำมาเป็นเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำให้บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นเสียค่าใช้จ่ายกับข้อจำกัดนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี ในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น และบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีมีความคล้ายคลึงกันคือ มีการดำเนินการในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีอย่างมีระบบ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของบริษัทเทคโนโลยีที่รับอยู่ในขั้นกลางและมีสัดส่วนการใช้ทุนเพิ่มขึ้นและแรงงานลดลง บริษัทญี่ปุ่นเน้นการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ส่วนบริษัทเยอรมนีเน้นการใช้คู่มือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้คุณภาพของสินค้าและยอดการผลิตดีขึ้น จำนวนพนักงานที่รับการฝึกอบรมในบริษัทแม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและมีระยะเวลานานมากในบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งมากกว่าบริษัทของเยอรมนี ปัญหาด้านการรับการถ่ายทอดที่พบในบริษัทญี่ปุ่น คือ ภาษาและทักษะความรู้ของผู้รับไม่เพียงพอที่จะรับเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นไป ซึ่งพบเช่นกันในบริษัทเยอรมนี ศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีโดยการวิจัยและพัฒนามีเฉพาะบริษัทญี่ปุ่น โดยมีการพัฒนาทางด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงดัดแปลงผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนามีประมาณ 0.1% ของยอดขายสุทธิ บริษัทญี่ปุ่นมีการสนับสนุนการเรียนรู้ทางภาษาข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วม ปัญหาที่พบจากการวิจัยและพัฒนา คือ ไม่สามารถซื้ออุปกรณ์และจัดส่งนักวิจัยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเพิ่มเติมความรู้การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้ |
Other Abstract: | The purpose of the thesis is to study the way in which technology is transferred, cost incurred in having technology transfer, calibre of Thai personnel and their potentiality in technological capabilities after having technology transfer. The study is done by comparing Japanese firms with German firms totally 6 of which four are Japanese and two are German. Information for the study was based mainly on visits and interviews of managerial staff and other staff of each company. It was found that technology used in both Japanese and German firms came almost totally from their parent companies. Technology transfer is done through contractual arrangement with royalty payment in terms of lump-sum or running royalty at 3 percent of net sale. The form of transfer is mainly in terms of trade mark agreement set by the parent companies and their joint ventures in Thailand. There are some tied-in clauses in the agreement and the common ones are export restriction, non exclusive, the limitation in technology development and obligation to technology improvement, especially in the Japanese firms. These cause the firms to pay more. The technology transfer in both Japanese and German firms are similar. They are transferred by company’s experts and consultants. Technology being transferred is in intermediate level, using relatively more capital and less labor. Japanese firms emphasize more on training where as German firms emphasize manual in technology transfer. The problem of technology transfer found both in Japanese and German firms is language and transferees insufficient know-how in high technology. Capabilities in technology development by research and development in Japanese firms are in terms of product and process development for the purpose of cost decrease and product improvement. Research and development expenditure is estimated to be about 0.1 percent of net sale in Japanese firms. The problem of research and development found is that they can not purchase equipment to fulfill the need of R&D activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22926 |
ISBN: | 9746352679 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokwan_Bo_front.pdf | 784.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_ch1.pdf | 817.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_ch2.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_ch3.pdf | 867.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_ch4.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_ch5.pdf | 821.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanokwan_Bo_back.pdf | 781.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.