Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22939
Title: การแบ่งส่วนทรัพยากรในปูก้ามดาบสกุล Uca บริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง
Other Titles: Resource partitioning in fiddler crabs genus Uca in Klong Si Kao, Trang Province
Authors: พัฒนวรรณ หมู่คุ่ย
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
ชาญยุทธ สุดทองคง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การแบ่งส่วนทรัพยากร (นิเวศวิทยา)
ปูก้ามดาบ -- ไทย -- ตรัง
Resource partitioning (Ecology)
Fiddler-crabs -- Thailand -- Trang
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการแบ่งส่วนทรัพยากรปูก้ามดาบบริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2554 ได้ดำเนินการทั้งหมด 3 บริเวณ ได้แก่ ป่าชายเลนอ่าวบุญคง ป่าชายเลนคลองลำยาว และป่าชายเลนภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พบปูก้ามดาบทั้งสิ้น 6 ชนิด ได้แก่ Uca (Celuca) lactea erplexa, U. (Thalassuca) vocans vocans, U. (C.) triangularis bengali, U. (Deltuca) forcipata, U.(D.) urvillei และ U.(D.) dussumieri spinata ปูก้ามดาบแสดงการแบ่งส่วนทรัพยากรด้านแหล่งที่อยู่อาศัย โดยพบ U. perplexa ทั่วบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา พบทั้งบริเวณที่มีร่มเงาของไม้ป่าชายเลนและที่โล่งแจ้ง ในบริเวณที่อนุภาคดินตะกอนเป็นดินทราย U. vocans พบอาศัยในบริเวณแคบพบเฉพาะบริเวณอ่าวบุญคงเท่านั้น โดยพบส่วนใหญ่ในที่โล่งแจ้งด้านนอกป่าชาย-เลนจนถึงชายน้ำในบริเวณดินโคลนปนทราย ปูก้ามดาบอีก 3 ชนิด คือ U. bengali, U. forcipata และ U. urvillei ชอบอยู่บริเวณที่มีร่มเงาของไม้ป่าชายเลนบนดินทราย ที่มีสัดส่วนของทรายแป้งและดินเหนียวในปริมาณสูง ส่วนปูก้ามดาบ U. spinata พบบริเวณดินโคลนอ่อนนุ่มที่มีร่มเงาไม้ป่าชายเลนและที่โล่งแจ้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายของปูก้ามดาบ ได้แก่ ขนาดอนุภาคดินตะกอน ปริมาณอินทรีย์สาร และอุณหภูมิเนื่องจากร่มเงาของไม้ป่าชายเลน ปูก้ามดาบที่พบในบริเวณป่าชายเลนที่มีลักษณะดินตะกอนต่างกัน จะมีการพัฒนารยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารเป็นรูปแบบหนึ่งของการปรับตัว เพื่อการแบ่งส่วนทรัพยากรอาหารและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต รยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารของปูก้ามดาบ U. perplexa และ U. vocans พบว่าก้ามข้างเล็กซึ่งใช้ในการตักอนุภาคดินตะกอนจะมีลักษณะเรียวบางคล้ายกัน ความยาวของ dactylus และ propodus ใน U. perplexa จะเรียวยาวกว่า ส่วนของ gape จะแคบ มีความสูงของส่วนปลายก้ามข้างเล็กมาก สัดส่วนต่างๆ ของก้ามข้างเล็กจะเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดกระดองเพิ่มขึ้น พบปูก้ามดาบชนิดนี้เป็นกลุ่มเด่นในบริเวณดินทราย รยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารส่วน maxilliped คู่ที่ 3 จะมีความกว้างมาก setae ที่อยู่บน maxilliped คู่ที่ 2 และ maxilliped คู่ที่ 1 จะทำหน้าจะช่วยให้อนุภาคอ่อนนุ่มที่อยู่กับอาหารหลุดออกแล้วส่งเข้าสู่หลอดอาหาร จึงมีการปรับ setae ที่อยู่บนรยางค์ปากให้มีลักษณะเป็นช้อนและขอบหยักขนาดใหญ่ (plumose setae with reduce small spoon-tip) จำนวนมากทำให้เหมาะสมต่อการอยู่รอดในอนุภาคดินทราย ซึ่งมีอนุภาคขนาดใหญ่ ใน U. vocans ซึ่งกินอาหารในบริเวณดอนโคลนปนทรายอนุภาคดินมีขนาดเล็ก ส่วนของ dactylus และ propodus สั้นกว่า U. perplexa แต่ส่วนของ gape จะกว้าง และมีความสูงของส่วนปลายก้ามข้างเล็กน้อยกว่า รยางค์ส่วน maxilliped คู่ที่ 3 จะแคบและมี setae ลักษณะเป็นแบบขนนก (plumose setae) จำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ในการกรองอินทรีย์สารจากอนุภาคดินตะกอนที่มีขนาดเล็ก จากการศึกษาชีววิทยาสืบพันธุ์พบว่า อัตราส่วนระหว่างเพศผู้และเพศเมียใน U. perplexa และ U. vocans เท่ากับ 1:0.42 และ 1:0.60 ตามลำดับ การเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของปูก้ามดาบเมื่อพิจารณาจากลักษณะทางสัณฐานและลักษณะทางเนื้อเยื่อจำแนกการเจริญของรังไข่ได้ 5 ระยะ ส่วนการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้พบเซลล์สืบพันธุ์ 3 ระยะ พบว่าปูก้ามดาบทั้งสองชนิดมีการวางไข่ตลอดทั้งปี ปูก้ามดาบ U. perplexa มีการวางไข่มาก 2 ช่วงคือ เดือนพฤศจิกายนและเดือนสิงหาคม โดยอัตราการวางไข่สูงสุดพบในช่วงเดือนสิงหาคม ขนาดความกว้างกระดองของปูเพศเมียที่เริ่มสมบูรณ์เพศคือ 8.80 มิลลิเมตร ส่วน U. vocans มีการวางไข่มาก 2 ช่วงคือ เดือนพฤศจิกายนและเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราการวางไข่สูงสุด ขนาดความกว้างกระดองของปูเพศเมียที่เริ่มสมบูรณ์เพศคือ 9.50 มิลลิเมตร การที่ปูก้ามดาบ 2 ชนิดซึ่งใช้พื้นที่อาศัยและวางไข่สืบพันธุ์ในบริเวณเดียวกันแต่มีช่วงอัตราวางไข่สูงสุดแตกต่างกันเป็นการแบ่งส่วนการใช้ทรัพยากรเพื่อการสืบพันธุ์ จากการศึกษาการกระจายของปูก้ามดาบสกุล Uca บริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง พบว่า U. perplexa สามารถกระจายได้ทุกสถานีที่ทำการศึกษา ทั้งบริเวณที่มีร่มเงาของพรรณไม้ป่าชายเลนและที่ค่อนข้างโล่งแจ้ง ตลอดจนกระจายได้ทั้งเขตตอนบนที่ติดต่อกับป่าบกจนถึงบริเวณตอนล่างของชายหาดติดทะเล ลักษณะดินตะกอนที่พบปูก้ามดาบชนิดนี้มักเป็นดินทราย ส่วน U. vocans สามารถกระจายได้ในบริเวณที่จำกัดพบได้เฉพาะในบริเวณอ่าวบุญคงซึ่งมีการรบกวนสูง โดยพื้นที่เป็นที่โล่งและมีการเปลี่ยนแปลงสภาพดินเป็นดินโคลนปนทราย
Other Abstract: Resource partitioning study in fiddler crabs genus Uca in Klong Si Kao mangrove forests Trang province was carried out from October 2010 to September 2011 in three areas namely Boonkong bay, Klong Lumyao and in the vicinity of Rajamangala University of Techology Srivijaya. Six species of fiddler crabs occurred in the study area shoed the habitat partitioning. Uca (Celuca) lactea perplexa were found widely distributed in the shaded area under tree canopies and in the open area. U. (Thalassuca) vocans vocans were common in the open area outside the forest fringes. U. (C.) triangularis bengali as well as U. (Deltuca) forcipata and U. (D.) urvillei were also common in the shaded area. U. (D.) dussumieri spinata were found distributed from the forest fringe to open tidal flats. Two most dominant fiddler crabs were U. (C.) lactea perplexa and U. (T.) vocans vocans. The latter species was found with limited distribution at Boonkong Bay in the open area with sandy mud habitat sediment type, organic content and temperature associated with shaded area under mangrove canopies were the major factors governing the distribution of fiddler crabs in the mangrove forest. A detailed study on the feeding appendage in the fiddler crabs confirmed that each species is adapted to feed on a particular type of sediment as one of the resource partitioning strategy. Uca perplexa had a slender, narrow minor claw with a narrow gape. The length of dactylus and propodus is longer compared to Uca vocans. Uca perplexa dominated the sandy area feeding on large sand particles. Numerous plumose setae with reduced small spoon-tip were found on the mouthparts, the maxillipeds. The 3rd maxillipeds in Uca perplexa were large and broad to process large amount of substrate. On the other hand, Uca vocans feeding on fine particles had also a slender and narrow minor claw with shorter dactylus and propodus. The 3rd maxillipeds were less broad. Numerous plumose setae were presented on the mouthparts. The study on reproductive biology of the fiddler crabs in mangrove forests in Klong Si Kao revealed that the two dominant species shared the resources in term of habitats and food during the spawning period. The sex ratio in Uca perplexa and Uca vocans were 1:0.42 and 1:0.60 respectively. Histological and morphological studies revealed 5 phases of ovarian development and 3 phase of spermatogenesis. Both crabs spawned throughout the year. Two spawning periods recorded in Uca perplexa in November and August with the highest peak in August. The first sexual maturity size in female was 8.80 mm. November and March were the two spawning periods of Uca vocans with the highest peak in November. The first sexual maturity size in female was 9.50 mm. From the distribution patterns of fiddler crabs in the mangrove forests of Klong Si Kao, Trang provinces, Uca perplexa was widely distributed throughout the study area ranging from the shaded area under tree canopies to open area in the tidal flats. This species can be found from the upper intertidal area landward to the low intertidal area. Uca vocans was with limited distribution in the Boonkong Bay where high disturbances occurred as compared to other area. This species was adapted to open area and to muddy sand substrates as the impacts from disturbed forests.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22939
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.965
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.965
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattanawan_mo.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.