Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22946
Title: ความสามารถในการจำและการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามของเด็กปกติ เปรียบเทียบกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
Other Titles: Memory capability and interrogative suggestibility of normal children compared to deaf children and blind children
Authors: สินีนาถ เศวตสุพร
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความจำ
การคล้อยตาม
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
Memory
Conformity
Hearing impaired children
Children with visual disabilities
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการจำและการคล้อยตามสิ่งชี้นำ เมื่อเปรียบเทียบในเด็กปกติกับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และในเด็กปกติกับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปกติ จำนวน 40 คน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 20 คน และเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างไม่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และมีอายุอยู่ในช่วง 9-12 ปี เข้ากระบวนการทดลองเพื่อวัดการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม โดยในการเปรียบเทียบในเด็กปกติกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้กลุ่มตัวอย่างดูภาพ ระลึกความจำอิสระ ถามคำถามชี้นำ การให้ผลป้อนกลับทางลบ และการถามคำถามซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้คะแนนการระลึกความจำอิสระ การยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1. การยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 2 การเปลี่ยนคำตอบ และการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวม ในการทดลองที่ 2. เปรียบเทียบในเด็กปกติกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จะมีขั้นตอนเหมือนกับการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนจากให้กลุ่มตัวอย่างดูรูปภาพเป็นฟังเนื้อเรื่องแทน ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีความสามารถในการจำมากกว่าเด็กปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีความสามารถในการจำมากกว่าเด็กปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามโดยรวม ไม่แตกต่างจากเด็กปกติ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคะแนนการเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1 พบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีการคล้อยตามสิ่งชี้นำมากกว่าเด็กปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามโดยรวมน้อยกว่าเด็กปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: To compare memory capability and interrogative suggestibility of normal children and deaf children, normal children and blind children with no physical and intellectual disabilities. The samples were 40 normal children, 20 deaf children, and 20 blind children, aged 9-12 years old. In the first experiment, normal children compared to deaf children saw the drawing picture. There were two experiments. Recall, answering to the leading questions, receiving the negative feedback and answering to the repeated leading questions. In the second experiment, normal children compared to blind children listened to the story. The scores of free recall, yield 1, yield 2, shift and total suggestibility were collected. Results show that: 1. The memory capability of deaf children is significantly higher than that of normal children (p < .01). 2. The memory capability of blind children is significantly higher than that of normal children (p < .01). 3. There is no significant difference between normal children and deaf children on total interrogative suggestibility. However, yield 1 of deaf children is significantly higher than yield 1 of normal children (p < .05). 4. Total interrogative suggestibility of blind children is significantly lower than that of normal children (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาประยุกต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22946
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.968
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.968
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sineenart_sa.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.