Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23048
Title: การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Research and development of an English reading teaching model based on language experience approach to develop third grade students’ reading comprehension ability
Authors: รัชฎา ทับเทศ
Advisors: สำลี ทองธิว
ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
ความเข้าใจในการอ่าน
การสอน -- วิจัย
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาพื้นฐานประสบการณ์ของนักเรียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ระยะที่ 3 สร้างเอกสารประกอบรูปแบบฯและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 5 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจขนานกัน 4 ชุด แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่าน แบบสัมภาษณ์ และบันทึกการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาเป็นรูปแบบที่เน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอน และประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน โดยกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างแรงจูงใจและกำหนดบริบท ขั้นรวบรวมและบันทึกคำศัพท์ ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการอ่าน ขั้นเชื่อมโยงภาษาพูดสู่ภาษาเขียน ขั้นฝึกอ่านเพื่อความเข้าใจ ขั้นขยายคลังศัพท์ผ่านการเรียนแบบร่วมมือ ขั้นประยุกต์และสร้างความรู้ ขั้นประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอ่าน 2. เมื่อนำรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเก่ง ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนไม่แตกต่างกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop an English reading teaching model based on language experience approach to enhance third grade students’ reading comprehension ability and 2) to evaluate the efficiency of the developed teaching model through implementation with the subjects who were 30 third grade students from Kasetsart University Laboratory School. The duration of experiment was 15 weeks. The procedure employed in this research comprised 5 phases: 1) to research the students’ experiences; 2) to develop the teaching model; 3) to develop teaching materials and instruments; 4) to implement of the developed teaching model; and 5) to evaluate and conclude the result of implementation. The research instruments were 4 parallel sets of reading comprehension test, behavioral observation form, group interview form, and learning diary. The data were analyzed using mean and One-way analysis of variance with repeated measures. The research findings were as follows: 1. The teaching model based on language experience approach consisted of 4 components: 1) principle, 2) aim, 3) instructional process, and 4) evaluation. The instructional process included 8 steps: motivating, collecting and recording words, pre-reading preparation, linking spoken and written language, practicing, expanding vocabulary, applying and transferring knowledge, and post-reading evaluating. 2. The results after implementing the teaching model were: 2.1 The average scores of the English reading ability after learning through the developed teaching model of third grade students were higher than the average scores taken before learning through the developed teaching model at the .05 level of significance. 2.2 The average scores of the English reading ability after learning through the developed teaching model of the group with high reading ability was not significantly different at the .05 level. 2.3 The average scores of the English reading ability after learning through the developed teaching model of the group with high reading ability and the group with low reading ability were higher than before learning through the developed teaching model at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23048
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.983
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.983
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rachada_tu.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.