Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23207
Title: | แผนนโยบายการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองลพบุรี |
Other Titles: | A policy plan for Lopburi municipality |
Authors: | ประพันธ์ วิชาศิลป์ |
Advisors: | เดชา บุญค้ำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพัฒนาที่ขาดการวางแผนให้เกิดความสัมพันธ์ของระบบโครงสร้างที่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญของเมือง ทำให้การเติบโตขาดแนวทางที่เหมาะสม เทศบาลเมืองลพบุรีเป็นชุมชนหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับภาค เพราะมีโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และศาสนาอยู่มาก แต่ขาดการควบคุมพื้นที่โดยรอบ เกิดปัญหาการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม มีประชากรรวมตัวกันอย่างหนาแน่นในบริเวณเมืองเดิม ลักษณะของชุมชนเทศบาลเมืองลพบุรี สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ คือ 1. บริเวณเมืองเดิมมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด 2. บริเวณนอกเขตเมืองเดิม เป็นส่วนที่มีประชากรอยู่กันอย่างเบาบาง ประกอบด้วยย่านการค้าใหม่ และศูนย์ราชการ การดำเนินการค้นคว้า เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา โดยทำการรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ทำการวิเคราะห์ถึงสภาพ และความเหมาะสมรวมทั้งหาแนวโน้มขององค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางของแผนนโยบายการพัฒนาพื้นที่เทศบาลเมืองลพบุรี ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ ของสภาพ และลักษณะของชุมชนที่มีโบราณสถานอยู่มาก มีแววของการพัฒนาสูงในด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมด้านการค้าส่วนใหญ่เป็นแบบการค้าปลีก มีการกระจายตัวของประชากรต่ำ และมีพื้นที่โดยรอบเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ แนวทางของการพัฒนาจึงมีเป้าหมายดังนี้ 1. ให้เทศบาลเมืองลพบุรีมีบทบาทและหน้าที่เป็นเมืองท่องเที่ยวด้านโบราณสถานและเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในทางศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติของจังหวัด 2. ทำการอนุรักษ์และปรับปรุงพัฒนาโบราณสถาน และบริเวณโดยรอบให้มีสภาพต่าง ๆ ดีขึ้น เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยวที่จะเป็นรายได้สำคัญส่วนหนึ่งอย่างเต็มที่ 3. ให้ชุมชนเทศบาลเมืองลพบุรี เป็นศูนย์การบริการอุปกรณ์การเกษตร และธุรกิจขนาดย่อม สำหรับภูมิภาคใกล้เคียงในระดับจังหวัด รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคการศึกษา 6 4. สนับสนุนให้มีกรขยายตัวของประชากรไปบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นต่ำในด้านตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือ 5. ชะลอการเติบโตของชุมชนบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของทางรถไฟหรือที่เรียกว่า “เมืองเดิม” ลงพร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการเติบโตในบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของทางรถไฟแทน 6. ปรับปรุงรายได้ของเทศบาลให้สูงขึ้น เพื่อให้มีรายได้นำไปพัฒนาชุมชนได้อย่างเต็มที่ 7. ขยายข่ายการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้กว้างขวางเป็นระบบที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นยิ่งขึ้น การกำหนดแนวทางการพัฒนาดังกล่าว จะทำให้ชุมชนเทศบาลเมืองลพบุรีก้าวไปสู่การเป็นเมืองที่มีบทบาทในการท่องเที่ยวสูงขึ้น ทำให้บริเวณเมืองเดิมมีคุณค่าในด้านการเป็นบริเวณประวัติศาสตร์ มีสภาพภูมิทัศน์ที่ดี ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้การเติบโตไปสู่พื้นที่นอกเขตเมืองเดิมอย่างมีระบบ To develop |
Other Abstract: | To develop an area without any planning for relationship among urban basic structure systems reflect a haphazard growth. Lopburi Municipality is a high potential area to be developed as one of reginal tourist centers. There are many important historical and religious places, but lack of controlment for the surrounding area Lopburi Municipality now faces with unsuitable mixing use of land and over crowded population in the old town area. The characteristic of Lopburi Minicipality can be devided into 2 parts: 1. Area of the old town, covers about 20% of total municipal area. 2. Area outside the old town, with low population density, new business gone and government center. This research is to study in order to find out guidelines for development. The study was undertaken by collecting data of both primary and secondary sources. Then analysed the environment and suitability including the tendency of the important factors which indicate the direction of Lopburi Municipality policy development plan. Lopburi Municipality contains many ancient places which can be developed as tourist center, and most of commercial activities base on retail sector. The population density of the municipality is very low while the surrounding area are fecund agricultural land. The objectives of the development are:- 1. To develop Lopburi Municipality as a historical tourism city and as a provincial tourist centre for the near by cultural and natural tourist places. 2. To conserve and improre the historical areas and their neighborhoods in order to increase local income from tourism. 3. To develop Lopburi Municipality as a provincial service centre for agricultural equipment and small scale business, and as national 6th educational region centre. 4. To encourage population growth on the last side of the northern railway line. 5. To slow down the community growth on the west side of the northern railway line, so called “the old town”. 6. To increase municipality income to fulfill community development programmes. 7. To enlarge the provision of social service and infrastructure system with regard of suitability of the local situation. The stated objectives of the Development Plan would make Lopburi Municipality play more roles on tourism and have historical value as well as natural seenery value. On the other hand the development plan will encourage a systematic growth on the outer area next to the old town. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | การผังเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23207 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapan_Wi_front.pdf | 682.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch1.pdf | 352.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch2.pdf | 814.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch3.pdf | 997.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch4.pdf | 7.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch5.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_ch6.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapan_Wi_back.pdf | 726.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.