Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23254
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสุดา บุญยไวโรจน์
dc.contributor.advisorเพ็ญศรี กันกา
dc.contributor.authorประภาพรรณ สิงคเสลิต
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-07T05:39:57Z
dc.date.available2012-11-07T05:39:57Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665967
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23254
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองตามการรับรู้ของตนเองในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกันในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุ วิธีดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับบทบาทในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2528 จำนวนทั้งสิ้น 306 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 วิธี คือ ผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 102 คน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปสัมภาษณ์ด้วยตนเอง ส่วนผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 102 คน และระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาจำนวน 102 คน ใช้วิธีแจกแบบสอบถามไปกับนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเอฟ สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ปรากฏว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา ปฏิบัติบทบาทในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุ อยู่ในระดับทำเป็นประจำ ส่วนผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ปฏิบัติบทบาทอยู่ในระดับทำบางครั้ง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกันในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุปรากฏว่า 1. บทบาทในฐานะเป็นผู้อบรมและฝึกฝน ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีบทบาทในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา มีการปฏิบัติบทบาทในฐานะเป็นผู้อบรมและฝึกฝนมากกว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษา ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. บทบาทในฐานะเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีบทบาทในการลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษามีการปฏิบัติบทบาทในฐานะเป็นแบบอย่างที่ดีมากกว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีการปฏิบัติบทบาทในฐานะเป็นแบบอย่างที่ดีไม่แตกต่างกับผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษา 3. บทบาทในฐานะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีบทบาทในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา มีการปฏิบัติบทบาทในฐานะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากกว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
dc.description.abstractalternativePurpose 1. To study the parents’ roles as perceived by themselves in cultivating health habits for preventing accidents to student in elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. 2. To compare the roles in cultivating health habits for preventing accidents of parents with different levels of education. Procedure The instruments used in this study were questionnaires concerning parents’ roles in cultivating health habits for preventing accidents to students in Prathom Suksa 1-6. The subjects were 306 parents of Prathom Suksa 1-6 students in the year 1985 from schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration Two types of collecting data were interviewed to 102 parents with primary education level and sent questionnaires to 102 parents with secondary level and 102 parents with education beyond secondary level. The obtained data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance and F-test. Results The data were analyzed by using mean and standard deviation. It was found out that on the average, parents with education beyond secondary level often performed their roles in cultivating health habits for preventing accidents to their children, where as parents with education of secondary and primary level sometimes performed their roles. The conclusions derived from One-Way Analysis of Variance to compare the parents’ roles with different level of in cultivating health habits for preventing accidents. They were as follows: 1. Roles as trainer, parents with different level of education performed their roles significantly at the .05 level. Parents with education beyond secondary level performed their roles as trainer more than those with education of secondary and primary level at the .05 level. 2. Roles as good models, parents with different level of education performed their roles significantly different at the .05 level Parents with education beyond secondary level performed their roles as good models more than parents with education of primary level at the .05 level. But no significant differences were found from the level in performed their roles as good models between parents with education of secondary level and those with other levels of education. 3. Roles as persons arranging safety environment, parents with different level of education performed their roles significantly different at the .05 level. Parents with education beyond secondary level and secondary level performed their roles as persons arranging safety environment more than parents with education of primary level at the .05 level.
dc.format.extent619096 bytes
dc.format.extent795502 bytes
dc.format.extent1293735 bytes
dc.format.extent503812 bytes
dc.format.extent1333097 bytes
dc.format.extent1080413 bytes
dc.format.extent987661 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุบัติเหตุ -- การป้องกัน
dc.subjectผู้ปกครองกับเด็ก
dc.subjectกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต -- การศึกษาและการสอน
dc.titleบทบาทของผู้ปกครองตามการรับรู้ของตนเอง ในการปลูกฝังสุขนิสัยด้านการป้องกันอุบัติเหตุ แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeParents' roles as perceived by themselves in cultivating health habits for preventing accidents to elementary students in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapapun_Si_front.pdf604.59 kBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_ch1.pdf776.86 kBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_ch3.pdf492 kBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_ch4.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Prapapun_Si_back.pdf964.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.