Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23474
Title: | การศึกษาความชอบของยุง Armigeres subalbatus ในการกินน้ำหวานและผลต่อการวางไข่ |
Other Titles: | Study on the preference of Armigeres subalbatus in sugar feeding and its effect on egg-laying |
Authors: | มณีรัตน์ รัศมีโสรัจ |
Advisors: | อภิชัย ตาวราย สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ยุง -- ไทย แมลง -- ไข่ ยุง -- พฤติกรรม Mosquitoes -- Thailand Insects -- Eggs Mosquitoes -- Behavior |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาความชอบของยุง Armigeres subalbatus ต่อน้ำหวานที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ พบว่ายุงชอบน้ำหวานความเข้มข้น 2% มากที่สุด เมื่อนำน้ำหวานความเข้มข้น 2 % ที่ใส่กลิ่นสังเคราะห์ 0.2% กลิ่นกล้วยหอมสังเคราะห์ 0.1% และกลิ่นสับปะรดสังเคราะห์ 0.2 % ซึ่งเป็นระดับความเข้มข้นที่ยุงชอบมาเปรียบเทียบกับ พบว่ายุงชอบกลิ่นสังเคราะห์ 0.2% ในน้ำหวานความเข้มข้น 2% มากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบความชอบของยุงระหว่างกลิ่นสังเคราะห์ 0.2% ในน้ำหวานความเข้มข้น 2% กับน้ำส้มเขียวหวานปรากฏว่ายุงชอบกลิ่นสังเคราะห์ 0.2% ในน้ำหวานความเข้มข้น 2% มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างยุงที่เลี้ยงด้วยแพนวิตามินซัยรัป 5% น้ำหวานความเข้มข้น 2% และน้ำส้มเขียวหวาน โดยให้กินเลือดจากแฮมเตอร์สีทองเพียงครั้งเดียว พบว่ายุงเหล่านี้เริ่มวางไข่หลังจากกินเลือดแล้ว 2 วัน ซึ่งยุงที่เลี้ยงด้วยแพนตามินซัยรัป 5% สามารถวางไข่ได้นานที่สุดถึง 27 วัน มีค่าเฉลี่ยของไข่ต่อตัวสูงสุดเท่ากับ 111.3 ฟอง และอายุเฉลี่ยของยุงตัวเมียสูงที่สุดเท่ากับ 27.4±8.06 วัน สำหรับยุงที่เลี้ยงด้วยน้ำส้มเขียวหวาน มีค่าเฉลี่ยของการวางไข่ต่อตัวต่อวัน อัตราการฟักตัวของไข่ และอัตราการอยู่รอดจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยสูงที่สุดเท่ากับ 10.81 ฟอง 69.41% และ 54.64% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในยุงที่เลี้ยงด้วยน้ำหวานทั้งสามชนิดดังกล่าว มีระยะฟักตัวของไข่ เวลาการเจริญเติบโตของลูกน้ำ และระยะดักแด้ใกล้เคียงกัน |
Other Abstract: | A study on the preference of Armigeres subalbatus to different concentrations of sucrose solution was conducted in the laboratory. The result showed that the mosquitoes most preferred 2% sucrose solu-tion. Comparison of the preferred concentrations of 0.2% orange, 0.1% banana and 0.2% pineapple flavours in 2% sucrose solution showed that mosquitoes preferred 0.2% orange flavour more than others. When 0.2% orange flavour in 2% sucrose solution and orange juice from citrus reticulata were compared, mosquitoes preferred 0.2% orange flavour in 2% sucrose solution more than the orange juice. Three groups of mosquitoes were separately reared on 5% panvitamin syrup, 2% sucrose solution and orange juice from citrus reticulata as sugar source. After taking single blood meal from golden hamster, the mosquitoes oviposited their eggs two days later. The 5% panvitamin syrup reared mosquitoes had the longest egg laying period of 27 days, the highest average of 111.13 eggs per female and the longest average female longevity of 27.4±8.06 days. The orange juice reared mosquitoes had the highest average daily egg laying of 10.81 eggs per female, the highest egg hatching rate of 69.41% and the highest survival rate of 54.64%. However, the times required for the development of eggs, larvae and pupae were similar in all three groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23474 |
ISBN: | 9745649627 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Maneerat_Ra_front.pdf | 449.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch1.pdf | 270.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch2.pdf | 635.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch3.pdf | 682 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch4.pdf | 817.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch5.pdf | 451.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_ch6.pdf | 299.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Maneerat_Ra_back.pdf | 650.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.