Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24199
Title: | ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาครัฐและเอกชน ปี 2554 การรับรู้และทัศนคติของผู้รับสารในวิกฤตการณ์น้ำท่วม |
Other Titles: | PR news content and audience attitude in response to corporate social responsibility activities of government and private agencies during the 2011 flood crisis |
Authors: | กุลนิษฐ์ นาคเลขา |
Advisors: | วรวรรณ องค์ครุฑรักษา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ ข่าว ผู้รับสาร น้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอและวิเคราะห์เนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาครัฐและเอกชนในสื่อหนังสือพิมพ์และสือโทรทัศน์รวมทั้งศึกษาการรับรู้และทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อข่าวการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาครัฐและเอกชนที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสาร (Content Analysis) คือ ศึกษาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สื่อโทรทัศน์ ได้แก่ รายการเรื่องเล่าเช้านี้ และรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Analysis) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบอนุมาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข่าว สาร พบว่า ความถี่ในการนำเสนอข่าวสารประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจมีการนำเสนอข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรรัฐ ได้แก่ ทหาร ในปริมาณมากที่สุด ส่วนภาคเอกชน ดีแทค และอิชิตัน มีปริมาณใกล้เคียงกัน และยังพบว่ามีการนำเสนอข่าวในพื้นที่ข่าวเป็นคอลัมน์เล็ก และเป็นคอลัมน์ขาว-ดำ และไม่มีภาพประกอบมีปริมาณมากกว่าการเสนอข่าวแบบซื้อพื้นที่ข่าว คอลัมน์ใหญ่ คอลัมน์สี และมีภาพประกอบในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับ ส่วนผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากรายการโทรทัศน์นั้น พบว่า ความถี่ในการนำเสนอข่าวของทหารมีมากกว่าตำรวจและภาคเอกชน ซึ่งดีแทคมีความถี่มากกว่าอิชิตันเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการใช้กลยุทธ์ CSR by product ส่วนผลที่ได้จากการทำแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาครัฐและเอกชนจากสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ในระดับปานกลาง–มาก และพบว่าการเปิดรับข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดทัศนคติในเชิงบวกต่อองค์กรระดับปานกลาง-มาก |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study and analyze the different types of new releases on the corporate social responsibility (CSR) activities of both government and private organizations through newspapers and television news, as well as the resulting public knowledge and understanding of persons living in the Bangkok metropolitan area. The CSR media news was examined using content analysis based on a coding sheet to study the format and the language of the CSR news for both government and private organizations presented in newspapers and on television. A survey analysis was conducted by distributing a questionnaire to a sample group of 400 BMA residents to determine their knowledge and understanding. The results were analyzed using deductive statistics and Pearson allied coefficients.The results of the evaluation was conducted using a developed software program and content analysis. The survey and content analysis found that Thai Rath and Krungthep Thurakit newspapers presented the most CSR news on government activities, particularly those of the Thai Royal Army, and private sector organizations. The amount of DTAC and Ichitan CSR news was about equal. It also found that the highest percentage of this news was presented in a news area, small, black & white column format without supporting photographs, followed by advertorial, big columns and those printed in color and with accompanying photographs. For the content analysis of television media, the result showed that the frequency of the Thai Royal Army news was more than that of the police, and the frequency of Dtac news was a little more than that of Ichitan’s due to the use of CSR by product Strategy. Questionnaire results showed that there was a moderate to high level of knowledge of corporate social responsibility of government and private organizations from newspapers and television. There was a moderate to high level of increased positive impressions among the public for the CSR activities of these organizations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24199 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1836 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1836 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kullanit_na.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.