Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24349
Title: | ทรรศนะทุนนิยมที่มีต่อมนุษย์ ในนิทาน ของ ลา ฟองแต |
Other Titles: | La Fontaine avec sa visition pessimiste de l'homme dans les fables |
Authors: | วิทยา เศรษฐวงศ์ |
Advisors: | อีฟ คอนราด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากยุคคลาสสิคเป็นยุคของมนุษยนิยม เป้าหมายอันแท้จริงของวรรณคดีฝรั่งเศสยุคนี้จึงมุ่งเน้นการสะท้อนภาพธรรมชาติมนุษย์ ในฐานะกวีคลาสสิคผู้หนึ่ง ลาฟองแตนก็ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพดังกล่าวตามที่เขาประจักษ์ด้วยจิตวิญญาณอันสว่างไสวในสายตาของกวีผู้นี้ ความคิดที่ว่ามนุษย์นั้นดีหรือมีเหตุผลโดยกำเนิดถือเป็นความไร้เดียงสาประการหนึ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้ว มนุษย์นั้นเห็นแก่ตัว ไม่สมบูรณ์โดยธรรมชาติ งมงายและตกเป็นทาสของความปรารถนาและกิเลสตัณหาของตน แม้แต่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สัตว์และพฤกษชาติก็ยังกล่าวโทษต่อบาปกรรมของมนุษย์ไว้ในนิทานของลา ฟองแตน นิทานของลา ฟองแตนนี้เป็นที่รู้จักกันดีประมาณสามศตวรรษแล้ว และปรากฏว่า การศึกษาวิจัยส่วนมากที่มีต่อวรรณคดีเรื่องนี้จะเน้นเฉพาะศิลปะการเล่าเรื่อง หรือ ท่วงทำนองการเขียนของกวีผู้นี้เท่านั้น นอกเหนือจากสาระดังกล่าวแล้ว ยังมีหัวข้อสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งที่มีผู้สนใจน้อยมาก ได้แก่ ทรรศนะทุนิยมที่มีต่อมนุษย์ของลา ฟองแตน ด้วยเหตุนี้ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยจึงไม่เพียงแต่พยายามเสนอทรรศนะทุนิยมให้ชัดเจนเท่านั้น แต่ยังริเริ่มแนวทางใหม่ๆสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง กับนิทานของลา ฟองแตนอีกด้วย |
Other Abstract: | Puisque le classicisme est un humanisme, le véritable objet de la literature classique est sans doute la peinture de la nature humaine. Considéré comme poète classique, La Fontaine peint l'homme tel qu'il le voit avec une grande lucidité d'esprit. Pour lui, ce serait naiveté de croire que l'homme est naturel¬lement bon ou raisonnable. Au contraire, il est égoiste, foncièrement imparfait, ignorant et se complaît dans l'esclavage de ses désirs et passions. Même la nature, les animaux et les plantes l'accusent de ces vices dans les Fables. Celles-ci sont bien connues depuis trois siècles. Il paraît que la plupart des études sur ces fables sont concentrées sur l'art de raconter ou le style de La Fontaine. A part celles- ci, il reste encore un thème important auquel â notre connaissance, peu de gens se sont jusqu'ici intéressés: sa vision pessimiste de l'homme. Ainsi, essayons-nous, dans la présente recherche, non seulement de mettre en lumière la vision cidessus mais aussi d'amorcer une voie nouvelle dans les études concernant les Fables. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาอังกฤษ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24349 |
ISBN: | 9745608165 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vidhaya_Se_front.pdf | 440.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vidhaya_Se_ch1.pdf | 789.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vidhaya_Se_ch2.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vidhaya_Se_ch3.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vidhaya_Se_back.pdf | 375.38 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.