Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24806
Title: แนวทางการจัดการสระว่ายน้ำ : กรณีศึกษา ลุมพินี คอนโดมิเนียม
Other Titles: Guildeline for facility management at swimming pool : case study of Lumpini Condominium
Authors: ปัญจารีย์ ธาราโชติบูรณ์
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำ -- การจัดการ
อาคารชุด
การบริหารทรัพยากรกายภาพ
Swimming pools
Swimming pools -- Management
Condominiums
Facility management
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพการใช้และการบำรุงรักษาสระว่ายน้ำ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการต่อไป โดยเลือกสระว่ายน้ำในคอนโดมิเนียมของบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด มหาชน (LPN) เป็นกรณีศึกษา ในจำนวนคอนโดมิเนียมของบริษัท LPN ทั้งสิ้น 47 โครงการ พบว่ามีสระว่ายน้ำ 36 โครงการ สระว่ายน้ำแต่ละโครงการมีรูปแบบและขนาดของสระว่ายน้ำแตกต่างกัน ส่วนอายุการใช้งานเป็นไปตามอายุอาคารคือ 1 ปี ถึง 19 ปี ทั้งนี้พบว่ามีผู้ใช้สระว่ายน้ำน้อยและผู้ใช้มักทำผิดระเบียบ จากการศึกษาพบว่าจะมีการจ้างบริษัทภายนอกดูแลทำความสะอาดในสระว่ายน้ำ ใช้ช่างประจำอาคารดูแลงานระบบทั่วไป แม่บ้านดูแลความสะอาดบริเวณโดยรอบ ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำสระว่ายน้ำ มีทั้งเจ้าหน้าที่ประจำสระ และบุคคลอื่น เช่น นักวิทยาศาสตร์การกีฬา แม่บ้าน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และมีถึง 11 โครงการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำ เพียงอาศัยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในห้องโถงดูแลทางกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ในส่วนค่าใช้จ่าย จะประกอบด้วยค่าบำรุงรักษา ค่าจ้าง และค่าสารเคมี มีตั้งแต่ 30 ถึง 69 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ต่อเดือน ซึ่งแปรผันไปตามอายุอาคาร ปัญหาที่พบ แบ่งได้เป็น ปัญหาด้านงานระบบ สถาปัตยกรรม และอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งปัญหาจะมากขึ้นตามอายุการใช้งานของสระว่ายน้ำ และการใช้งานผิดระเบียบ จึงสรุปได้ว่าเหตุที่สระว่ายน้ำทรุดโทรมตามอายุการใช้งาน ทำให้ปัญหาในการบำรุงรักษาจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงขึ้นเกินงบประมาณที่มีอยู่ ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หากจะเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพิ่มขึ้นก็จะมีปัญหา เนื่องจากมีผู้ใช้สระว่ายน้ำน้อย
Other Abstract: To study the pool’s condition, use and maintenance to provide a future management plan. The pool in LPN Development Company has been chosen to be the case study. Among the 47 LPN condominium projects, there are 36 projects which have pools. Each project’s pool has its own form and size. The service life also varies with the building’s ages from 1 to 19 years. Moreover, it is found that there are very few users and they often violate the pool’s regulations. From the study, outsourcing specialists are responsible for cleaning the pools while the overall system is taken care of by the building maintenance section. The space around the pool is cleaned by the building’s maids. For the pool’s staff, there are pool officers, sports scientists, maids and security guards. No permanent staff is found in 11 projects. However, there are security guards who look after the pools from the hallway through surveillance cameras. The related expense ranges from 30 to 69 baht per square meter each month. This expense includes the payment for maintenance, wages and chemical substances. The expense varies with the buildings’ respective ages. The problems found can be divided into systematic, architectural and furniture problems which also increase according to the service life of the pool and the violation of regulations. Therefore, it can be concluded that the cause of the pools’ deterioration will lead to more maintenance problems and affect the repair budget surplus which affects the condominium central fund. If more money is collected for the fund, it may be problematic since there are very few pool users.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24806
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1853
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1853
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panjaree_th.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.