Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2524
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเทพ กลชาญวิทย์-
dc.contributor.authorฐนิสา พัชรตระกูล, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-16T06:22:03Z-
dc.date.available2006-09-16T06:22:03Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741771258-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2524-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังจากกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระทำงานไม่ประสานกัน สามารถพบกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวนร่วมกันได้บ่อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า การมีลำไส้แปรปรวนร่วมด้วยนั้นจะมีผลต่อการตอบสนอง ต่อการฝึกกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระหรือไม่ อย่างไร วิธีการ: ผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุตามเกณฑ์ ROME II ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาระบาย และการปรับเพิ่มอาหารที่มีกากเป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ และได้รับการตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ การทำงานของทวารหนักและกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก การทดสอบการเบ่งลูกโป่งแล้วพบความผิดปกติ 2 ใน 3 ข้อต่อไปนี้ จะนำมารักษาด้วยการฝึกกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระ 1) กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักหดรัดตัวหรือไม่คลายตัวในขณะเบ่ง 2) ดัชนีการถ่ายอุจจาระ < 1.2 3) ใช้เวลาในการเบ่งลูกโป่งนานมากกว่า 3 นาที วัดผลโดยให้ผู้ป่วยประเมินอาการท้องผูกโดยรวมแล้วขีดลงบนเส้นยาว 10 ซม. ที่แสดงถึงความรุนแรงจากน้อยไปมาก ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หมายถึงอาการท้องผูกโดยรวมดีขึ้นไม่เกินครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรักษาหลังจากรักษาแล้ว 4 ครั้ง ลักษณะของผู้ป่วยและผลการตรวจทางสรีรวิทยาของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จะนำมาใช้วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองการรักษา ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 50 รายที่ติดตามรักษาจนครบ มีผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา 30 ราย (60%) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่าอาการท้องผูกโดยรวมและอาการลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ปริมาณการใช้ยาระบายต่อครั้งและต่อสัปดาห์ การใช้นิ้วหรือมือกดเพื่อช่วยถ่าย ระยะเวลาที่ใช้เบ่งลูกโป่งออกลดลงและค่าดัชนีการถ่ายดีขึ้น อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วย 28 ราย (56%) มีอาการลำไส้แปรปรวนร่วมด้วย และไม่พบว่ามีผลต่อการตอบสนองต่อการรักษา (p=0.64) เช่นเดียวกับอายุ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่มีอาการ อาการท้องผูกแต่ละอาการตามเกณฑ์ ROME II การพบเหตุที่สัมพันธ์กับการเริ่มเกิดอาการ ปริมาณยาระบาย ค่าความดันของทวารหนักขณะพักและขณะเบ่ง ระยะเวลาที่ใช้เบ่งลูกโป่งออกและค่าดัชนีการถ่ายในผู้ป่วย ที่ตอบสนองและไม่ตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาพบว่า มีอาการท้องผูกโดยรวมที่รุนแรงกว่า (8.5+-1.2 เทียบกับ 6.8+-1.6; p<0.0001) มีลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้ามากกว่า (35% เทียบกับ 3.3%; p=0.003) มีปริมาตรในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ทำให้รู้สึกเริ่มอยากถ่ายอุจจาระมากกว่า (30-80 เทียบกับ 30-42 มล.; p=0.02) และปริมาตรที่ทำให้รู้สึกเริ่มกลั้นอุจจาระไม่ได้มีค่ามากกว่า (120-150 เทียบกับ 100-127.5 มล. ; p=0.02) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ตอบสอนง และเมื่อนำปัจจัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์เชิงพหุ จะพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ตอบสนองต่อการรักษา คือ อาการท้องผูกโดยรวมที่รุนแรง (OR=2.1, 95%CI=1.24-3.68) และค่าปริมาตรในลำไส้ใหย๋ส่วนปลายสุดที่ทำให้รู้สึกเริ่มกลั้นอุจจาระไม่ได้มีค่ามาก (OR=4.2, 95%CI=1.14-15.38) โดยจะมีสำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้ามีความสัมพันธ์ตามกับปริมาตรในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ทำให้รู้สึกเริ่มอยากถ่ายอุจจาระและปริมาตรที่ทำให้รู้สึกกลั้นอุจจาระไม่ได้ สรุป อาการท้องผูกโดยรวมที่รุนแรงและค่าปริมาตรในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายสุดที่ทำให้รู้สึกเริ่มกลั้นอุจจาระไม่ได้มีค่ามากจะสัมพันธ์กับการไม่ตอบสนองต่อการฝึกกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังจากกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระทำงานไม่ประสานกัน การพบลำไส้แปรปรวนร่วมด้วยไม่มีผลต่อการตอบสนองต่อการรักษาen
dc.description.abstractalternativeObjectives: Irritable bowel syndrome often coexist in chronic constipated patients with pelvic floor dyssynergia. This study was designed to assess whether these coexisting irritable bowel syndrome have any prognostic significance for the biofeedback treatment outcome. Methods: Consecutive patients with chronic idiopathic constipation defined by ROME II criteria who unresponsive to dietary fiber and laxatives for more than 12 weeks underwent colonic transit test, balloon expulsion test and anorectal manometry. Patients who had 2 of the following 3 criteria were included for biofeedback therapy 1) inappropiated contraction or failure to relax the anal sphincter during straining, 2) defecation index < 1.2, and 3) balloon expulsion time >3 minutes. Global symptom scores were evaluated by a 10 cm.- long visual analog scale. Failure of biofeedback therapy was defined as <50% improvement of global symptom score after the 4th session of the therapy. Patient characteristics and anorectal physiologic findings were analyzed to determine predictors of treatment outcome. Results: 50 patients completed biofeedback protocol. 30 patients (60%) had successful response. In responsive patients, global symptom scores, %irritable bowel syndrome, amount and frequency of laxatives, %manual maneuver to facilitate, balloon expulsion time, defecation index were significantly improved (p<0.05). 28 patients (56%) had coexisting irritable bowel syndrome and the present this factor had no effect to treatment outcome (p=0.64). Age, gender, education level, duration of symptoms, present of each constipation symptoms defined by ROME II criteria, present of precipitating factor before symptoms developed, amount and type of laxatives use, resting and squeezing anal sphincter pressure, balloon expulsion time and defecation index were not significantly different between successful and failure group (p>0.05). Patients with treatment failure had higher pre-treatment global symptom score (8.5+-1.2 vs 6.8+-1.6; p<0.0001), higher prevalence of colonic inertia (35% vs 3.3%; p=0.003), higher sensory threshold for desire to defecate (30-80 vs 30-42.5 ml; p=0.02), higher sensory threshold for urgency (120-150 vs 100-127.5 ml; p=0.02) than patients with successful treatment. In logistic regression model, only higher pre-treatment global symptoms score and higher sensory threshold for urgency were associated with treatment failure with odd ratios (95% CI) of 2.1 (1.24-3.68) and 4.2 (1.14-15.38), respectively. Colonic inertia was associated to poor response to treatment, but only in relation to high rectal sensory threshold. Conclusions: Higher sensory threshold for urgency and severe pretreatment global symptom score are associated with poor response to biofeedback therapy in chronic idiopathic constipation associated with pelvic floor dyssynergia. Coexisting irritable bowel syndrome had no effect to treatment outcome.en
dc.format.extent705249 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectท้องผูกen
dc.subjectการฝึกกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระen
dc.subjectลำไส้แปรปรวนen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบผลการตอบสนองต่อการฝึกกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระ ในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังจากกล้ามเนื้อควบคุมการถ่ายอุจจาระทำงานไม่ประสานกัน ที่มีและไม่มีอาคารลำไส้แปรปรวนen
dc.title.alternativeComparison of biofeedback therapy response between chronic constipated patients with pelvic floor dyssynergia with and without irritable bowel syndromeen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanisa.pdf576.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.