Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2550
Title: | โครงการศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | ภิรมย์ กมลรัตนกุล เกื้อ วงศ์บุญสิน |
Email: | [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ |
Subjects: | คนงานก่อสร้าง |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คนงานก่อสร้างเป็นกลุ่มที่มีอัตราการบาดเจ็บและตายจากการทำงานสูงที่สุด รวมทั้งต้องเผชิญกับปัญหาทางสังคมและสาธารณสุขต่างๆ แต่กลับเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางสังคมในทุกด้าน อย่างไรก็ตามในเมืองไทยยังขาดข้อมูลในส่วนนี้อยู่ ด้งนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลทางด้านสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขต กทม. โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดตัดขวาง ณ จุดหนึ่งของเวลา จำแนกสถานก่อสร้างในกทม. ออกเป็นรอบในและรอบนอก แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สุ่มได้เขตคลองเตยเป็นตัวแทนของเขตกทม. รอบใน และเขตลาดกระบังเป็นตัวแทนของเขต กทม. รอบนอก เมื่อสำรวจได้ sampling frame แล้ว จึงใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เพื่อสุ่มกลุ่มสถานก่อสร้างขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากลุ่มละ 10 แห่งส่วนการคัดเลือกคนงานในแต่ละแห่งนั้นใช้วิธี systematic random sampling ผลการศึกษาาพบว่า 67% ของคนงานก่อสร้างในเขตกทม. อยู่ในวัยทำงาน เป็นชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย (ในอัตรส่วน 1.4:1) ร้อยละ 88 มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ร้อยละ 84 สมรสแล้ว และร้อยละ 87 จบชั้นประถมศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 64 เป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันโดยไม่มีสัญญาว่าจ้างที่แน่นอน เฉลี่ยแล้วคนงานมีบุตร 2 คน ร้อยละ 4 เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 27 เป็นบุตรอายุ 1-5 ปี ร้อยละ 16 เป็นบุตรอายุ 6-8 ปี และร้อยละ 33 เป็นบุตรอายุ 9-15 ปี โดยมีเพียงร้อยละ 13 ของบุตรอายุ 6-15 ปี ที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรไม่ค่อยมีความแตกต่างระหว่างคนงานในเขตคลองเตยและเขตลาดกระบัง และระหว่างสถานก่อสร้างขนาดใหญ่และเล็ก แต่สภาพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ สถานก่อสร้างขนาดใหญ่มีแน้วโน้มจะดีกว่าสถานก่อสร้างขนาดเล็ก และคนงานในเขตคลองเตยมีแนวโน้มจะมีสภาพต่างๆ เหล่านี้ดีกว่าคนงานในเขตลาดกระบัง อัตราการเจ็บป่วยหนัก เนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงานพบ 58.7/คนงาน 1,000 คน ส่วนการบาดเจ็บระหว่างการทำงานเท่ากับ 208 ต่อคนงาน 1,000 คน ในเขตคลองเตย และ 180/คนงาน 1,000 คน ในเขตลาดกระบังในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดคือ ชนกับเครื่องมือ และตะปูตำ ทั้งนี้คงเนื่องมาจากนายจ้างไม่ได้จัดเตรียมเครื่องป้องกันส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ รวมทั้งคนงานเองก็ไม่สนใจในการใช้เครื่องมือป้องกันเหล่านั้นด้วย สภาพแวดล้อมในการทำงานและสถานที่อยู่อาศัยรวมถึงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี คนงานส่วนมาก(โดยเฉพาะคนงานชาย) มีพฤติกรรมเสี่ยงส่วนบุคคล เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การใช้ยาและสารเสพติด มีปัญหาเรื่องความเครียด 53% โรคปริทันต์และโรคฟันผุเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าคนงานก่อสร้าง ส่วนมากขาดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สิทธิต่าง ๆ รวมทั้งสวัสดิการอันพึงได้ ข้อมูลดังกล่าว น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้คนงานก่อสร้างผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้อย่างจริงจัง เป็นระบบ และเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2550 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pirom(bbk).pdf | 37.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.