Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2571
Title: อิทธิพลของยีนเบต้าและแคปป้าเคซีนที่มีผลต่อลักษณะการให้ผลผลิตน้ำนมในโคนมลูกผสม
Other Titles: Effects of beta and kappa casein as candidate genes on milk production traits in crossbred dairy cattle
Authors: ช่อทิพ อรุณเดชาชัย, 2519-
Advisors: จันทร์จรัส เรียวเดชะ
ดวงสมร สุวัฑฒน
มนต์ชัย ดวงจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: น้ำนม
โคนม
เคซีน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประมาณค่าอิทธิพลของจีโนไทป์ของยีนเบต้าและแคปป้าเคซีนในฐานะของ ยีนแคนดิเดท ที่มีผลต่อลักษณะการให้ผลผลิตน้ำนม ได้แก่ ปริมาณน้ำนม ปริมาณโปรตีน และเปอร์เซ็นต์โปรตีน ในโคนมลูกผสมจำนวน 87 ตัว ที่มีบันทึกการให้ผลผลิตน้ำนมแล้วอย่างน้อย 1 ลำดับการให้นม จากการตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนทั้งสองด้วยวิธี ASPCR และ PCR-RFLP ตามลำดับ พบอัลลีลของยีนเบต้าเคซีนทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ A[superscript 1]A[superscript 2] และ B มีความถี่อัลลีลเท่ากับ 0.30 0.61 และ 0.09 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ A[superscript 1]A[superscript 1] A[superscript 1]A[superscript 2] A[superscript 2]A[superscript 2] A[superscript 2]B และ A[superscript 1]B หรือ BB เท่ากับ 0.06 0.41 0.36 0.11 และ 0.06 ตามลำดับ ยีนแคปป้าเคซีนพบอัลลีลทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ A B และ E มีความถี่อัลลีลเท่ากับ 0.72 0.26 และ 0.02 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA AB AE BB และ EE เท่ากับ 0.50 0.40 0.03 0.06 และ 0.01 ตามลำดับ การประมาณค่าอิทธิพลของยีนทั้งสองโดยใช้โมเดลของสัตว์แต่ละตัว (animal model) ด้วยโมเดล 1(a-b) โดยพิจารณายีนทีละตำแหน่ง (single-gene) พบว่ายีนเบต้าเคซีนจีโนไทป์ A[superscript 1]A[superscript 1] และ A[superscript 1]A[superscript 2] มีผลให้ปริมาณน้ำนมและปริมาณโปรตีนสูงสุด ยีนแคปป้าเคซีนจีโนไทป์ AA มีผลให้ปริมาณน้ำนมและปริมาณโปรตีนสูงสุด AE ให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงสุด แต่ให้ปริมาณน้ำนมและปริมาณโปรตีนต่ำสุดเช่นกัน และโมเดล 2 โดยพิจารณาการทำงานของยีนเบต้าและแคปป้าเคซีนร่วมกัน พบว่าจีโนไทป์ A[superscript 1]A[superscript 1]-AB A[superscript 1]A[superscript 2]-AA และ A[superscript 1]A[superscript 1]-AA มีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำนมและปริมาณโปรตีนสูงสุด จีโนไทป์ A[superscript 1]A[superscript 2]-AE มีอิทธิพลต่อเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงสุด อิทธิพลของการทำงานร่วมกันระหว่างยีนเบต้าและแคปป้าเคซีนมีความสำคัญต่อลักษณะการให้ผลผลิตน้ำนม กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้มีจำนวนน้อยจึงทำให้อิทธิพลที่ได้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประชากรที่จำนวนมากขึ้นและมีข้อมูลพันธุ์ประวัติเชื่อมโยงกัน เพื่อสามารถประมาณค่าอิทธิพลของแต่ละจีโนไทป์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
Other Abstract: The objective of this study was to estimate effects of beta and kappa casein as candidate genes on milk yield, protein yield and protein percentage of 87 crossbred dairy cattle with production records. The investigation on beta and kappa casein genotypes were by allele-specific polymerase chain reaction (ASPCR) and polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP), respectively. Alleles of beta casein were A[superscript 1] A[superscript 2] and B with allele frequencies of 0.30, 0.61 and 0.09, respectively. Beta casein genotypes were A[superscript 1]A[superscript 1] A[superscript 1]A[superscript 2] A[superscript 2]A[superscript 2] A[superscript 2]B and A[superscript 1]B or BB with genotype frequencies of 0.06, 0.41, 0.36, 0.11 and 0.06, respectively. Alleles of kappa casein were A B and E with allele frequencies of 0.72, 0.26 and 0.02, respectively. Kappa casein genotypes were AA AB AE BB and BE with genotype frequencies of 0.50, 0.40, 0.03, 0.06 and 0.01, respectively. Effects ofbeta and kappa casein genotypes on milk production records were investigated using animal models. Single gene analyses by model1a-b for beta and kappa casein genotype showed that cows with A[superscript 1]A[superscript 1] and A[superscript 1]A[superscript 2] beta casein genotypes produced highest milk and protein yield. Milk and protein production were highest for the kappa casein AA genotype, and protein percentage was highest for the EE genotype. Multigene analyses by model2 showed that A[superscript 1]A[superscript 1]-AB, A[superscript 1]A[superscript 2]-AA and A[superscript 1]A[superscript 1]-AA genotypes were associated with the highest milk and protein production, and A[superscript 1]A[superscript 2]-AE genotype was associated with the highest protein percentage. These observations implied that the interaction between the beta and kappa casein loci may be the important factors affecting milk production. A small set of cow data on milk production made this study results inconclusive. Further studies should be conducted in an experimental data to identify the real effects of particular genotypes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2571
ISBN: 9741736835
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chortip.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.