Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25840
Title: การวัดอัตราการกรองของไตในกลุ่มประชากรไทยที่มีภาวะอ้วน
Other Titles: The validation of estimated glomerular filtration rate equation in obese populations
Authors: กฤตยา ทิศขจรสิริ
Advisors: เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: บุคคลน้ำหนักเกิน -- ไทย
ไต
โรคอ้วน -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : สมการการวัดอัตราการกรองของไตเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการประเมินการ ทำงานของไต ปัจจุบันสมการเหล่านี้ได้มีการปรับให้เหมาะสมในแต่ละเชื้อชาติ เช่น กลุ่มชาวคอเคเชียน, แอฟริกัน อเมริกัน, เอเชีย บางเชื้อชาติ เช่น จีน, ญี่ปุ่น และไทย สมการอัตราการกรองของไตสำหรับคนไทย คือ 175 x Cr enz[superscript (-1.154)] x Age[superscript (-0.203)]x 0.742 (if female) x 1.129 (if Thai) และสมการ อัตราการกรองของไตสำหรับคนไทยคือ 375.5 x Crenz[superscript (-0.848)] x Age[superscript (-0.364)] x 0.712 (if female) ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 22.9-26 กิโลกรัม/เมตร2 การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับสมการการวัดอัตราการกรองของไตที่มีอยู่ ให้สามารถใช้ในกลุ่มประชากรไทยที่มีภาวะอ้วนได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ วิธีการศึกษา : ผู้ป่วย และผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 104 ราย ซึ่งมีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม/เมตร² จะได้รับการบันทึกข้อมูลพื้นฐาน, วัดดัชนีมวลกาย, มวลกล้ามเนื้อ และมวลไขมัน, เจาะเลือดดูค่าครีเอตีนิน โดยใช้วิธีเอนซัยมาติค และนำมาคำนวณโดยใช้สมการต่างๆ ได้แก่ Reexpressed MDRD, CKD-EPI, Reexpressed MDRD with Thai correction, Thai estimated Glomerular Filtration rate (Thai eGFR) เปรียบเทียบกับการวัดอัตราการกรองของไตด้วยวิธีมาตรฐานโดยใช้สารดีทีพีเอ ([superscript 99m]Tc-DTPA) เพื่อเปรียบเทียบดูความถูกต้อง และแม่นยำ ผลการศึกษา: พบความแตกต่างกันของอัตราการกรองโดยวิธีมาตรฐาน และจากการคำนวณโดยใช้สมการต่างๆ ดังนี้ 15.6 มิลลิลิตร/นาที/1.73 เมตร2 โดยใช้สมการ Reexpressed MDRD, 13.1 มิลลิลิตร/นาที/1.73 เมตร² โดยใช้สมการ CKD-EPI, 2.6 มิลลิลิตร/นาที/1.73 เมตร² โดยใช้สมการ Reexpressed MDRD thai racial factor และ 12.1 มิลลิลิตร/นาที/1.73 เมตร² โดยใช้สมการของไทย พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของประชากรไทยที่มีภาวะอ้วนเท่ากับ 1.117 ดังนั้นสมการอัตราการกรองของประชากรไทยที่มีภาวะอ้วน คือ 175 x Cr enz[superscript (-1.154)] x Age[superscript (-0.203)] x 0.742 (if female) x 1.117 (if obese) สรุปผลการศึกษา: สมการ Reexpressed MDRD with Thai racial factor correction และสมการ Thai eGFR สามารถใช้คำนวณหาอัตราการกรองของไตในกลุ่มประชากรไทยที่มีภาวะอ้วนได้แม่นยำ
Other Abstract: Background: Estimated glomerular filtration rate (eGFR) equations are essential for the kidney function’s classification.Currently these equations have been validated in some races such as Causasian, African-Americans, Chinese, including Thais.The reexpressed Modification of Diet in Renal Disease equation for Thais is as follow: 175 x Cr enz[superscript (-1.154)] x Age[superscript (-0.203)] x 0.742 (if female) x 1.129 (if Thai) and we used multiple regression analysis, The Thai eGFR formula is: 375.5 x Cr enz[superscript (-0.848)] x Age[superscript (-0.364)] x 0.712 (if female). In Thai study, the mean body mass index is 25.3±4.8 kg/m². These equations can be applied to the obese populations whether or not. Therefore, we examined all eGFR equations available: Reexpressed MDRD equation, Thai eGFR formula, etc. Methods: A total 104 adults Thai obese patients and candidates (BMI >=30 kg/m²) were enrolled. The 99mTc-DTPA plasma clearance was used as a reference for GFR.The serum creatinine that was determined by IDSM reference enzymatic method (Cr enz) was applied to equation to these eGFR equations to compare accuracy and precision. Results: The disagreement between the reference GFR and eGFR (reference GFR minus eGFR) was 15.6 ml/min/1.73 m² for the reexpressed MDRD equation, 13.1 ml/min/1.73 m² for CKD–EPI equation, 2.6 ml/min/1.73 m² for the eGFR from the reexpressed MDRD with Thai racial facto and 12.1 ml/min/1.73 m2 for Thai eGFR formula. The thai coefficient for reexpressed MDRD was 1.117. Conclusions: Differrences in race, age, creatinine can significantly affect the results obtained from eGFR equation, However the body mass index (BMI) may affect the results but not statistically significant. The validation of reexpressed MDRD with Thai racial factor correction and Thai eGFR equation can precisely apply to predict eGFR in Thai obese populations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25840
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1858
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1858
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krittaya_ti.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.