Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/259
Title: การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: A study on the operation and its problems in developing local curriculum for social studies at the secondary education level
Authors: เสาวนีย์ เยาวโรจน์, 2517-
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
สังคมศึกษา--หลักสูตร
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่างประชากรเป็นหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา 208 คน ที่ตอบแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ครูสังคมศึกษา 3 คน ที่ได้จัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และคำนวณหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ทั้ง 5 ลักษณะ 1.1 การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษาในด้านโครงสร้างหลักสูตรสังคมศึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และด้านการศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น ปรากฏว่า ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินงานที่เหมือนกัน โดยได้พัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษาในรายวิชาท้องถิ่นของเรา นำทรัพยากรครูสังคมศึกษามาร่วมดำเนินงาน และได้ศึกษาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ดำเนินงานมากที่สุด คือ ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม และที่ดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม 1.2 การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษามีรายละเอียดในแต่ละลักษณะ คือ (ก) การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม มีการทำแผนการเรียนการสอนให้มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดความรักความผูกพันในท้องถิ่น จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ และจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานในแหล่งวิทยาการท้องถิ่น (ข) การปรับรายละเอียดของเนื้อหาสาระ กำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับรายละเอียดของเนื้อหาในเรื่องศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น (ค) การปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม มีการสำรวจรวบรวมเอกสารและหนังสือที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ได้กำหนดเกณฑ์ในการปรับสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และได้ปรับสื่อในรูปของใบงานเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (ง) การจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ ได้กำหนดเกณฑ์ในการจัดทำสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และได้จัดทำสื่อในรูปของหนังสืออ่านเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (จ) การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มีการจัดทำรายวิชาใหม่ คือ รายวิชาวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่และรายวิชาอิสลามศึกษา 6 รายวิชา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตระหนักเห็นความสำคัญและสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น 2. ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ขาดงบประมาณ ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และครูสังคมศึกษาไม่มีเวลาในการดำเนินงานเพราะมีภาระงานสอนมาก
Other Abstract: The purposes of this research were to study on the operation and its problems in developing local curriculum for social studies at the secondary education level. The sample for answering the questionnaire were 208 head divisions of social studies and 3 social studies teachers who constructed new courses were inerviewed. The research instruments a set of questionnaire and an interview form. Data analyzed by means of frequencies and percentage. Research findings were as follows : 1. The operation in developing local curriculum for social studies in 5 categories 1.1 The operation of local curriculum developing in the aspects of curriculum structure, personnel resources and study of local information, it appeared that most of social studies techers developed the course of Our Community (Soc.071), participated in local curriculum developing process andthe local wisdom was studied by means of the interview. Modifying instructional activities or extra activities was mostly done but developed new courses was least done. 1.2 The following details of the local curriculum developing in each categories were : (a) Modifying instructional activities or extra activities. Lesson plans were designed relevant to the local curriculum with the local love tie as the main purpose, integrated learning and fieldtrip to the local resources was organized as the instructional activities (b) Modifying curriculum content. The main purpose was to emphasize the importance of local wisdom by modifying the content on folk art and local wisdom. (c) Modifying instructional media. Survey documents and books on instructional media, criteria for modifying media was set and worksheet on local knowledge was modified (d) Developing new instructional media. Criteria for developing new instructional media and the supplementary reading books on local knowledge were produced. (e) Developing new courses. New courses were developed namely Local Chiengmai Culture course and 6 series of courses in Islamic studies with the purpose of local love tie and the local needs. 2. The main problems of the local curriculum development in social studies were the teachers tacked of knowledge experience indeveloping in local curriculum, budget, curriculum specialists and heavy teching loads.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/259
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.563
ISBN: 9741706219
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.563
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.