Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26251
Title: | การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด |
Other Titles: | The human resource development of Siam Cement Co., Ltd. |
Authors: | สัณห์ชัย สิชฌรังษี |
Advisors: | พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาวิธีการและสภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด ตลอดจนทัศนคติและความคิดเห็นของบพนักงานระดับต่าง ๆ ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ตลอดจนวิธีการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ โดยมีสมมุติฐานในการวิจัยว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย มีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทุกระดับ ทัศนคติและความคิดเห็นของพนักงานในระดับต่าง ๆ ที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยไม่แตกต่างกัน บริษัทปูนซิเมนต์ไทยยังขาดการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง สำหรับพนักงานส่วนมากที่ผ่านกระบวนการพัฒนามาแล้ว และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยทำให้มีการหมุนเวียนงาน โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจะมาทำงานที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไปเป็นจำนวนมาก การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลจากพนักงานระดับต่าง ๆ ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ พนักงานระดับบังคับบัญชาและวิชาชีพและพนักงานระดับจัดการ พนักงานกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกเลือกเป็นตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 116 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทุกระดับ ทำให้มีการหมุนเวียนงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจะมาทำงานที่มีลักษณะทั่วๆ ไปมากยิ่งขึ้น ทัศนคติและความคิดเห็นของพนักงานในระดับต่าง ๆ ที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยโดยส่วนรวมมีความแตกต่างกัน ในเรื่องเกี่ยวกับควรเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรให้มากกว่าปัจจุบัน การคัดเลือกพนักงานในระดับต่าง ๆ เข้ารับการอบรมในแต่ละหลักสูตรยังไม่เหมาะสม นอกจากนี้พนักงานในระดับต่าง ๆ มีทัศนคติและความคิดเห็นเหมือนกัน ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาคนของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ทำให้บริษัทสามารถเติบโตไปได้อย่างดี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการพัฒนาและฝึกอบรมในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด พบว่า มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจังสำหรับพนักงานส่วนมากที่ผ่านการพัฒนาและฝึกอบรมมาแล้ว แต่ยังกระทำได้ไม่ครอบคลุมในทุกเรื่องและยังขาดการติดตามและประเมินผลพนักงานเป็นบางกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มีอยู่ไม่มาก เช่น ขาดการส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อด้วยตนเองในประเทศ ความรู้ความชำนาญและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในเรื่องการพัฒนาและฝึกอบรมมีไม่เพียงพอขาดการวางแผนในระยะยาว ระดับของปัญหาขึ้นอยู่กับระดับของพนักงาน พนักงานระดับสูงส่วนใหญ่คิดว่าไม่มีปัญหาจนถึงมีน้อย พนักงานระดับล่างส่วนใหญ่คิดว่ามีปัญหาน้อยจนถึงมีมาก ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ ควรมีการวางแผนในระยะยาวให้จริงจัง ควรนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอยู่เสมอ ๆ และควรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาต่อภายในประเทศ ควรมีการขจัดข้อขัดแย้งระหว่างทัศนคติและความคิดเห็นของพนักงานกลุ่มต่าง ๆ ที่ยังปรากฏอยู่ การติดตามและประเมินผลพนักงานส่วนมากที่ผ่านกระบวนการพัฒนามาแล้ว ควรเน้นความสำคัญในกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงมีความสนใจและสนับสนุนโครงการอบรมต่าง ๆ มากขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to study the nature and method concerning human resource development within the Siam Cement Co., Ltd. and the attitudes and opinions of the employees at various levels towards human resource development within the company. The problems and difficulties of human resource development are also examined and ways in which these problems can be solved are proposed. The hypotheses of this research are human resource development process in Siam Cement Co., Ltd. is continuously conducted and applies to employees at all levels, all employees from different levels have the same attitudes and opinions towards the company’s human resource development process, the company has not been able to evaluate thoroughly the results of its human resource development program, and the company has witnessed an increased level of job rotation with more “specialist” employees entering the “generalist” field. Primary data is based on questionnaires sent out to employees from different levels representing Workers, Professional Supervisors and Manager levels of the company. The total sample size is 116 subjects. An analysis of the data reveals that the process of human resource development of Siam Cement Co., Ltd. is continuously conducted and applies to all levels, which result in greater job rotations among all employees and in particular a tendency for more “specialist” to work in the “generalist” field of work. Employees as a whole have different attitudes and opinions toward the human resource development program, concerning more investment in its human resource development program, the appropriate selection of employees to different courses. Furthermore it is seen that employee from all levels have the same attitudes and opinions that the human resource development program contributes greatly to the growth of Siam Cement Co., Ltd. Further analysis of the data show that the company has been able to follow-up and evaluate the results of its human resource development program on most of its employees but has not been able to evaluate the tendencies of some groups concerning some issues. Problems and difficulties of human resource development confronting the company are minimal such as lack of support for self-learning within the country, insufficient skill and knowledge of new methods and technology and no long-term planning. The level of the problem correlates to the level of the employee: Most high-level employees have little or no problems while most lower-level employees have little to many problems. Proposals stemming out from this research include more serious long-term planning, bringing in new knowledge and technology with regard to human resource development, and promoting further education within the country among employees in order to improve themselves. Efforts should be made to eliminate differences in attitudes and opinions among employees from different levels. Follow-up and evaluation on the employees who have passed the human resource development process should be effectively done with more emphasis on the working group, so that high-level executives will give more support and interest to the different training programs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ,ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26251 |
ISBN: | 9745674974 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunchai_Si_front.pdf | 526.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_ch1.pdf | 455.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_ch2.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_ch3.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_ch4.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_ch5.pdf | 650.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunchai_Si_back.pdf | 841.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.