Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26396
Title: | ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกโรคหืดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ |
Other Titles: | Outcomes of pharmaceutical care for asthmatic outppatients at Srinakarind Hospital |
Authors: | ฌานี สโมสร |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต วัชรา บุญสวัสดิ์ สุณี เลิศสินอุดม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกโรคหืดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ด้วยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ได้รับการบริการทางเภสัชกรรมตามปกติ ในด้าน 1) ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคหืดและยาที่ใช้รักษา 3) ผลลัพธ์ทางคลินิก 4) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของเภสัชกร โดยการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง ทุก 2 เดือน ดำเนินการศึกษาระหว่างตุลาคม 2546 ถึงมีนาคม 2547 มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 108 ราย สามารถติดตามประเมินผลได้ทั้งหมด 98 ราย ผู้ป่วยได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มศึกษา 48 ราย กลุ่มควบคุม 50 ราย ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ ระยะเวลาการเป็นโรคหืด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในการติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 พบว่า ตัวแปรต่างๆ ในทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ยกเว้นค่า PEFR, Pd20 และระดับความรุนแรงของโรคหืดที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อติดตามประเมินผลในครั้งที่ 3 พบว่า กลุ่มศึกษามีจำนวนปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาที่พบมากที่สุด คือ วิธีการใช้ยาสูดพ่นไม่ถูกต้องโดยเฉพาะในรูปแบบยาสูดวัดขนาด (metered dose inhaler) คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหืดและยาที่ใช้รักษา ทั้งในหมวดความรู้เกี่ยวกับโรคหืดและหมวดความรู้เกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาในกลุ่มศึกษาสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่า FEV1 และ PEFR ในกลุ่มศึกษามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่การเปลี่ยนแปลงของค่า Pd20 ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในกลุ่มศึกษามีจำนวนผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคหืดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของเภสัชกรพบว่ากลุ่มศึกษามีความพึงพอใจในระดับดีมากและพบว่ามีคะแนนความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษาที่ได้พบว่าบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรคหืดโรงพยาบาลศรีนครินทร์ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาลดลง มีความรู้เกี่ยวกับโรคและยาที่ใช้ในการรักษาโรคหืดเพิ่มขึ้น มีผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น และผู้ป่วยพึงพอใจมากต่อการได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม จึงควรดำเนินการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกโรคหืดต่อไปและขยายกิจกรรมนี้ให้ครอบคลุมผู้ป่วยนอกโรคหืดทุกราย ตลอดจนให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคอื่นๆ ต่อไป |
Other Abstract: | The objectives of this study were to assess outcomes of pharmaceutical care for asthmatic outpatients at Srinakarind Hospital by comparing outcomes between study group whom received pharmaceutical care and control group whom received regular pharmacy service in areas of 1) patient noncompliance 2) patient’s knowledge about asthma as a disease and drug treatment 3) clinical outcome 4) patient satisfaction with pharmacy services. Both groups were followed up for 3 consecutive clinic visits every 2 months. The study was performed during October 2003 to March 2004. A total of 108 asthmatic outpatients were recruited; 98 completed the study, 48 patients were randomly assigned to the study group whereas 50 patients were in control group. No significant difference (p>0.05) was found in patient characteristics e.g. gender, age, duration of asthma disease. In the first visit, no significant difference (p>0.05) was found in the study variables except for PEFR, Pd20 and asthma severity (p<0.05). At the end of this study, patient in the study group had significant (p<0.001) lower frequency of noncompliance problems than control group. The most important noncompliance problem was incorrect use of inhaler devices especially the metered dose inhaler. Knowledge score about asthma disease and medications in the study group had significant (p<0.001) higher than control group. There were significantly (p<0.001) increases of PEFR and FEV1 from baseline to the third follow up in the study group than control group but no significant difference (p>0.05) between this two groups in Pd20. Asthma severity in the study group improved significantly (p<0.001) than the control group. The study group had significantly (p<0.001) higher level of satisfaction on pharmacy service than control group. The result of this study showed that pharmacist-provided pharmaceutical care can decrease patient’s noncompliance while increase patient’s knowledge about asthma disease and drug treatment as well as clinical outcome. Moreover, patient satisfaction was also showed. Therefore, this service should be continued and expanded to all asthmatic patients as well as other disease patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26396 |
ISBN: | 9741756933 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanee_sa_front.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_ch1.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_ch2.pdf | 8.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_ch3.pdf | 5.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_ch4.pdf | 18.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_ch5.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanee_sa_back.pdf | 15.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.