Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27031
Title: การเปรียบเทียบผลการตรวจเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริโดยวิธีดัดแปลงการย้อมสีจิมซ่ากับวิธีการเพาะเชื้อ
Other Titles: Comparison of Helicobacter pylori detection by modified Giemsa stain and culture
Authors: ศุภทิพย์ กิตติมานนท์
Advisors: พิเชฐ สัมปทานุกุล
สมใจ เหรียญประยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชิ้นเนื้อเยื่อบุกระเพาะอาหารจำนวน 200 ตัวอย่าง จากผู้ป่วย 100 คน ที่มีอาการปวดชนิดจุกเสียด แน่นท้อง ถูกนำมาวิเคราะห์ นำผลการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริ โดยวิธีดัดแปลงการย้อมสีจิมซ่าทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อมาเปรียบเทียบกับการเพาะเชื้อซึ่งถือว่าเป็นวิธีทดสอบมาตรฐาน ตัดชิ้นเนื้อเยื่อ 2 ชิ้นจากบริเวณที่ใกล้เคียงกันในตำแหน่งแอนทรัมของกระเพาะอาหาร แล้วส่งตรวจทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อ 1 ชิ้น และทำการเพาะเชื้ออีก 1 ชิ้น ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าความไวของการตรวจโดยวิธีดัดแปลงการย้อมสีจิมซ่ามีค่าร้อยละ 80 ค่าตรวจความจำเพาะของการตรวจมีค่าร้อยละ 88.9 ค่าความสามารถในการทำนายผลการตรวจเชื้อถ้าผลการทดสอบเป็นบวก ค่าความสามารถในการทำนายผลการตรวจเชื้อถ้าผลการทดสอบเป็นลบ โอกาสที่จะตรวจพบเชื้อหลังการทดสอบถ้าผลการทดสอบเป็นบวก โอกาสที่จะตรวจพบเชื้อหลังการทดสอบถ้าผลการทดสอบเป็นลบ มีค่าร้อยละ 89.8 ร้อยละ 78.4 ร้อยละ 89.8 และร้อยละ 21.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความถูกต้องของการตรวจมีค่าร้อยละ 84 ในขณะที่ความชุกของการติดเชื้อในการศึกษาครั้งนี้มีค่าร้อยละ 55 จากการศึกษาครั้งนี้อาจจะสรุปได้ว่าวิธีดัดแปลงการย้อมสีจิมซ่าทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้สำหรับการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริในงานประจำ ยิ่งกว่านั้นยังพบว่าให้ประโยชน์ได้มากกว่าการเพาะเชื้อซึ่งเป็นการทดสอบมาตรฐาน เนื่องจากให้ผลรวดเร็ว วิธีการทำง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
Other Abstract: Two hundred samples of gastric mucosal biopsy from 100 patients with dyspeptic symptoms were analysed. Detection of Helicobacter pylori by histological section stained with modified Giemsa was compared to the gold standard microbiological culture. Two pieces of biopsy, one for histology and one for culture, were taken side by side from the gastric antrum. The results showed that the detection by histology with modified Giemsa stain was 80%, specificity of the test was 88.9%. The positive predictive value, the negative predictive value, the post-test likelihood if test positive and the post-test likelihood if test negative were 89.8%, 78.4%, 89.8% and 21.5%, respectively. In addition, the overall accuracy was 84%, while the prevalence in this study accounted for 55%. From this study, it may conclude that histological section stained with modified Giemsa is a reliable method for routine investigation for Helicobacter pylori. Furthermore, it shows more benefit over the gold standard culture method because of rapidity, simplicity, and inexpensiveness.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27031
ISBN: 9746332775
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supatip_ki_front.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_ch1.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_ch2.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_ch3.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_ch4.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Supatip_ki_back.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.