Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2705
Title: กลวิธีการกล่าวแย้งในภาษาไทยของผู้ที่มีสถานภาพต่างกัน : กรณีศึกษาของครูและนักเรียน
Other Titles: The act of disagreeing in Thai by speakers of different social status : the case of teachers and students
Authors: ปวีณา วัชรสุวรรณ, 2521-
Advisors: ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาไทย -- บทสนทนาและวลี
วัจนกรรม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกล่าวแย้งในภาษาไทยของผู้ที่มีสถานภาพต่างกันและความสัมพันธ์ของการกล่าวแย้งของผู้ที่มีสถานภาพต่างกันกับสถานการณ์การมีและไม่มีบุคคลที่สาม การกล่าวแย้งนี้แบ่งเป็นการกล่าวแย้งเมื่อคู่สนทนากล่าวผิด และการกล่าวแย้งเมื่อมีความเห็นต่างกับคู่สนทนา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากคำตอบในแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง 200 คน เป็นผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า คือ ครู 100 คน และผู้ที่มีสถานภาพต่ำกว่า คือ นักเรียน 100 คน ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีที่ใช้ในการกล่าวแย้งสิ่งที่ผิดและการกล่าวแย้งความคิดเห็นของผู้พูดทั้งสองสถานภาพมีทั้งกลวิธีโดยตรงและกลวิธีโดยอ้อม กลวิธีที่ใช้ในการกล่าวแย้งสิ่งที่ผิดของผู้พูดที่มีสถานภาพสูงกว่าพบทั้งสิ้น 20 กลวิธี เป็นกลวิธีโดยตรง 3 กลวิธี และกลวิธีโดยอ้อม 17 กลวิธี และของผู้พูดที่มีสถานภาพต่ำกว่าพบทั้งสิ้น 12 กลวิธี เป็นกลวิธีโดยตรง 2 กลวิธี และกลวิธีโดยอ้อม 10 กลวิธี ส่วนกลวิธีที่ใช้ในการกล่าวแย้งความคิดเห็นของผู้พูดที่มีสถานภาพสูงกว่าพบทั้งสิ้น 17 กลวิธี เป็นกลวิธีโดยตรง 3 กลวิธี และกลวิธีโดยอ้อม 14 กลวิธี และของผู้พูดที่มีสถานภาพต่ำกว่าพบทั้งสิ้น 16 กลวิธีเป็นกลวิธีโดยตรง 5 กลวิธี และกลวิธีโดยอ้อม 11 กลวิธี จากการศึกษาพบว่าสถานภาพที่ต่างกันของผู้พูดและผู้ฟังมีผลต่อการเลือกที่จะแย้งและไม่แย้งที่ต่างกันด้วย คือ ผู้ที่มีสถานภาพต่ำกว่าจะแย้งน้อยกว่าผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย้งเมื่อคู่สนทนากล่าวผิด อีกทั้งสถานภาพยังมีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีการกล่าวแย้งที่ต่างกันด้วย นอกจากนี้สถานการณ์การมีบุคคลที่สามก็มีผลต่อการเลือกที่จะแย้งหรือไม่แย้งด้วย กล่าวคือ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีบุคคลที่สาม ผู้พูดทั้งสองสถานภาพมักจะแย้งน้อยลงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีสถานภาพต่ำกว่าจะแย้งน้อยลงมาก แต่ทั้งนี้สถานการณ์ไม่มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีการกล่าวแย้ง คือ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดผู้พูดที่เลือกกล่าวแย้งก็จะใช้กลวิธีเดียวกัน
Other Abstract: The aim of this research is to examin the act of disagreeing in Thai by speakers of different social status in two situation - - when a third-party is present and when there is no third-party. The act of disagreeing in the present study includes correcting and showing disagreement to the hearer. The 200 respondents consist of 100 teachers (higher status group) and 100 students (lower status group) from various schools and colledges in Bangkok area. The findings indicate that speakers of the two groups adopt both direct and indirect strategies of disagreeing. In the case of correcting, the speakers of higher status adopt 20 strategies including 3 on-record and 17 off-record. The speakers of lower status, on the other hand, use only 12 strategies including 2 on-record and 10 off-record. In the case of showing disagreeing to the hearer, the higher status group adopt 17 strategies. Only 3 of 17 are on-record. On the other hand, the group of the lower status prefers to be more direct. It is found that 5 of 16 strategies adopted by the lower-status group are on-record. Based on the findings, it is concluded that the social status of the speaker and the hearer is a crucial factor for the speaker in deciding whether or not to perform the act of disagreeing and in selecting the way to do it. In addition, whether or not a third-party is present is also a concern. It appears that when there is a third-party, the number of those who decide not to perform the act increases, especially in the group of the lower status. Nonetheless, the presence of a third-party seems to have no influence on selecting the way to perform the act for those who choose to do it.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2705
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.37
ISBN: 9741768419
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.37
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paveena.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.