Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28145
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: The development of composite indicators of success in ICT use in teaching and learning for promoting ICT literacy skills of secondary school students
Authors: ช่อบุญ จิรานุภาพ
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
เทคโนโลยีสารสนเทศ
การสอน -- เทคโนโลยีสารสนเทศ
การรู้สารสนเทศ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน และ กลุ่มผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 541 คน และ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2,199 คน จาก 55 โรงเรียน กระจายใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และการใช้โปรแกรม LISREL 8.7 ในการวิเคราะห์องค์เชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวบ่งชี้เดี่ยวทั้งหมด 43 ตัวบ่งชี้เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ตัวบ่งชี้รวมครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ด้านบริบท จำนวน 10 ตัว ตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า จำนวน 13 ตัว ตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ จำนวน 15 ตัว และตัวบ่งชี้ด้านผลลัพธ์ จำนวน 5 ตัว 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองเพื่อตรวจสอบความตรงโมเดลตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 22.45, df=21, p=.373, GFI=.992, AGFI=.976, RMR=.005) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้เดี่ยวทั้ง 11 ตัว มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ .605 - .897 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ความสามารถของนักเรียนในการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีขนาดตั้งแต่ .727 – 1.111 เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า (1.111) ด้านกระบวนการ (1.006) ด้านบริบท (0.847) และด้านผลผลิต (0.727) ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the composite indicators of success in ICT use in teaching and learning for promoting ICT literacy skills of secondary school students and to test the goodness of fit between the developed measurement model and the empirical data. The informants comprised 11 highly qualified experts, 541 administrators and teachers in secondary schools, and 2,199 grade 9 students from 55 schools in 4 regions areas the country. The research tools were the questionnaires. Data were analyzed by SPSS for basic data analysis and LISREL 8.7 for confirmatory factor analysis and secondary order confirmatory factor analyses. The research results were as follows: 1) The confirmatory factor analysis results indicated that all 43 single indicators are indicators of success in ICT use in teaching and learning for promoting ICT literacy skills of secondary school students having significant factor loading at .01 level. The composites indicators consisted of 4 factors each of which were 10 indicators of context factor, 13 indicators of input factor, 15 indicators of process factor and 5 indicators of outcome factor. 2) The results of second order confirmatory factor analysis to validate the composite indicator model for the success of ICT use in teaching and learning for promoting ICT literacy skills of secondary school students were revealed that the model was fit to the empirical data (X²=22.45, df=21, p=.373, GFI=.992, AGFI=.976, RMR=.005). The factor loadings of 11 single indicators were positive, ranging in size from .605 - .897. The highest factor loading indicators was the student's ability to work creatively with the use of information technology and communications. The factor loadings of the 4 factors were positive, ranging in size from .727 – 1.111 arranging in consecutive order as input (1.111) process (1.006) context (0.847) and outcome (0.727) respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28145
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1459
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1459
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chorboon_ch.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.