Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28174
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ | - |
dc.contributor.author | กัญชนา ง้าวสุวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-12-26T09:25:58Z | - |
dc.date.available | 2012-12-26T09:25:58Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28174 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาความแตกต่างของระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์ในภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันจากสาเหตุอื่นที่ไม่มีการติดเชื้อ( Investigation of the Difference in Apolipoprotein A-V Level During Sepsis and Non Infectious Cause of Acute Illness ) ที่มามีการค้นพบสารที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะการอักเสบในร่างกายหลายชนิดแต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่าสารเหล่านั้นมีความจำเพาะต่อภาวะพิษเหตุติดเชื้อสำหรับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์เป็นอะโปไลโปโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของไทรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับไทรกลีเซอไรด์ในภาวะที่มีการอักเสบของร่างกายและมีข้อมูลในสัตว์ทดลองว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์ในภาวะพิษเหตุติดเชื้อ วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับอะไลโปโปรตีนเอไฟว์ในภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะการอักเสบของร่างกายที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน 150 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีพิษเหตุติดเชื้อ 75 รายและกลุ่มที่มีภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 75 รายได้รับการตรวจเลือดหลังการเก็บเลือดเพื่อเพาะเชื้อสำหรับกลุ่มแรกหรือหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 24ชั่วโมงแรกเพื่อวัดตรวจระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์โดยวิธี ELISA ผลการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด150 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 56 อายุเฉลี่ย 62 ปีพบว่าระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์เฉลี่ย 37.5 ± 25.2นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรในกลุ่มที่มีพิษเหตุติดเชื้อและ 35.1 ± 21.0นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรในกลุ่มที่มีความเจ็บป่วยเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโดยความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.84) ถ้าแบ่งผู้ป่วยออกตามผลการรักษาในโรงพยาบาลพบระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์เฉลี่ย38.1 ± 22.2นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรในกลุ่มที่มีชีวิตรอดจำนวน 119 ราย และ 29.6 ± 26.0นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรในกลุ่มที่เสียชีวิตหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 29 ราย โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) สรุปผลการศึกษา ระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์ของผู้ป่วยในภาวะพิษเหตุติดเชื้อไม่มีความแตกต่างกับภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันจากสาเหตุอื่น แต่ระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตมีระดับต่ำกว่าผู้ป่วยที่รอดชีวิตซึ่งต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | Background:Many inflammatory markers have been discovered over the last decade. However, a few of them are specific for sepsis. Apolipoprotein A-V is an apolipoprotein which is necessary for triglyceride metabolism, the level of which is altered in the inflammatory states. A few studies in animals have shown the changes in apolipoprotein A-V levels during sepsis. Objective:The purpose of this study was to determine the difference of apolipoprotein A-V levels in patients during sepsis and in patients with other inflammatory states. Methods: Seventy five patients who had sepsis, defined by the positive result for hemoculture, and another 75 patients who had acute illnesses not associated with infection were enrolled. Serum samples were collected on the same day of hemoculture in the sepsis group or on the first day of admission in the non-infectious group. Apolipoprotein A-V levels were measured using an ELISA assay by Linco Research. Results:Among 150 patients enrolled, 56% were male with the mean age of 62 years old.The mean ±SD serum apolipoprotein A-V levels were 37.5 ± 25.2 ng/mL and 35.1 ± 22.0 ng/mL in the sepsis group and the non-infectious group, respectively (p=0.84). Subgroup analysis showed that there was a statistically significant difference in the mean apolipoprotein A-V levels between 119 alive and 29 dead patients (38.1 ± 22.2 vs. 29.6 ±26.0 ng/mL, p=0.008). Conclusions:Serum apolipoprotein A-V levels are not significantly different between patients who had sepsis and those with non-infectious causes of acute illnesses, suggesting that it is not a specific marker for acute infection.Whether apolipoprotein A-V might be a useful prognostic marker during acute illness requires further investigations. | en |
dc.format.extent | 1730984 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1479 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แอพโพลิโปโปรตีน | en |
dc.subject | เลือดติดเชื้อ | en |
dc.title | การศึกษาความแตกต่างของระดับอะโปไลโปโปรตีนเอไฟว์ในภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันจากสาเหตุอื่นที่ไม่มีการติดเชื้อ | en |
dc.title.alternative | Investigation of the difference in apolipoprotein A-V level during sepsis and non infectious cause of acute illness | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1479 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanchana_ng.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.