Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28657
Title: | การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายบางด้านของนักเรียนชาย อายุ 15 ถึง 17 ปี ภายหลังการฝึกเดินและการฝึกวิ่งเหยาะ |
Other Titles: | A comparison of some aspects of physical fitness of fifteen to seventeen-year-old male students after walking and jogging programs |
Authors: | ศุลีพร แซ่ฉั่ว |
Advisors: | เฉลิม ชัยวัราภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายบางด้านของนักเรียน อายุ 15 ถึง 17 ปี ภายหลังการฝึกเดินและการฝึกวิ่งเหยาะ ด้วยอัตราชีพจรที่ต่างกัน ตัวแปรทางด้านสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วยน้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ผู้เข้ารับการทดลองเป็นนักเรียนชาย อายุระหว่าง 15 ถึง 17 ปี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยใช้สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มทั้ง 4 กลุ่มทำการฝึกเดินและฝึกวิ่งเหยาะ โดยให้กลุ่มแรกฝึกเดินด้วยอัตราชีพจร 60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราชีพจรสูงสุด กลุ่มที่ 2 ฝึกวิ่งเหยาะด้วยอัตราชีพจร 60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราชีพจรสูงสุด กลุ่มที่ 3 ฝึกเดินด้วยอัตราชีพจร 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราชีพจรสูงสุด และกลุ่มที่ 4 ฝึกวิ่งเหยาะด้วยอัตราชีพจร 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราชีพจรสูงสุด ทุกกลุ่มฝึกเดินหรือวิ่งเป็นเวลา 30 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายอีกครั้ง แล้วนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติดังนี้คือ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ ( (sc̍heffé) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว จากการทดสอบก่อนและหลังฝึก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 2. ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ของกลุ่มฝึกเดิน 60% แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ของทุกกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. น้ำหนักของร่างกายของกลุ่มฝึกเดิน 60% ลดลงจากก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 5. เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายในกลุ่มฝึกวิ่งเหยาะ 70% ฝึกวิ่งเหยาะ 60% ฝึกเดิน 60% ลดลงจากก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนกลุ่มฝึกเดิน 70% มีเปอร์เซ็นต์ไขมันที่ลดลงจากก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 6. สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดที่เปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกนั้น ในกลุ่มฝึกวิ่งเหยาะและกลุ่มฝึกเดินด้วยความหนักของงาน 70% และกลุ่มฝึกเดินด้วยความหนักของงาน 60% มีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนกลุ่มฝึกวิ่งเหยาะที่ความหนักของงาน 60% มีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 7. การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มฝึกเดิน 60 เปอร์เซ็นต์ และ 7่0 เปอร์เซ็นต์ และ กลุ่มฝึกวิ่งเหยาะ 60 เปอร์เซ็นต์ และ 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในตัวแปรต่อไปนี้คือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด สำหรับน้ำหนักของร่างกายนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the result of the physiological variables changed due to the programs of Walking and Jogging. The subjects were เ40 male students. They were divided into k groups, (matched groups by using the maximum oxygen uptake) The first group was trained to walk at the work load of sixty percent of the target heart rate. The second group was trained to jog at the work load of sixty percent of the target heart rate. The third group was trained to walk at the work load of seventy percent of the target heart rate. The fourth group was trained to jog at the work load of seventy percent of the target heart rate. These 4 groups were trained for walking and jogging for eight weeks, five days a week. The comparison of the physical fitness between the pre-test and post-test of all groups Was found that participation of these exercise programs decreased resting heart rate and percent of body fat, but increased the maximum oxygen uptake sold there was no significant difference at the ,01 level in systolic blood pressure of all groups. The diastolic blood pressure and the body weight of the first group decreased significantly at the .05 level. The Analysis of Co-variance found that there was no significant difference among four groups in resting heart rate, systolic and diastolic blood pressure, percent of body fat and the maximum oxygen uptake, except in the body weight which was significant difference at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28657 |
ISBN: | 9745668281 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suleeporn_sa_front.pdf | 7.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_ch1.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_ch2.pdf | 5.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_ch3.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_ch4.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_ch5.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suleeporn_sa_back.pdf | 14.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.