Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28897
Title: | การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร: กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 4, โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 และโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 (อ้อมน้อย) จังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Community residents’ participation in the management of the Baan Eua-Arthorn Housing Project : case studies of the Phuttamonthon Sai 4 Project, the Phuttamonthon Sai 5 Project, and Phuttamonthon Sai 5 (Om Noi) Project in Nakhon Pathom |
Authors: | โสภาพร ร่มพูลทอง |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ปรีดิ์ บุรณศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 4 โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 (อ้อมน้อย) ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- นครปฐม ชุมชน -- ไทย -- นครปฐม |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติมี 3 รูปแบบที่บริหารจัดการชุมชนโดยผู้อยู่อาศัยเอง คือ นิติบุคคลอาคารชุด สหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทร และกรรมการชุมชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานขององค์กรชุมชนทั้ง 3 รูปแบบ วิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานที่ว่า เมื่อผู้อยู่อาศัยมีความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชนดี จะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมมากซึ่งทำให้ผลของการบริหารจัดการชุมชนทำได้ดีนั้น และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา 3 โครงการ โดยการสังเกตการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัย การสัมภาษณ์กรรมการองค์กรชุมชน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการเคหะแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการบริหารชุมชนกรณีนิติบุคคลอาคารชุด มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีการมีส่วนร่วมปานกลาง ทำให้ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการชุมชนปานกลาง แต่ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการทำงานของนิติบุคคลอาคารชุด สำหรับกรณีสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทร เป็นรูปแบบองค์กรชุมชนที่มีความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชนดี ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมมาก ทำให้ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการชุมชนค่อนข้างมากกว่าในองค์กรชุมชนรูปแบบอื่น ๆ เป็นผลมาจากการที่ผู้อยู่อาศัยในรูปแบบสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรมีเวลาอยู่ในชุมชนมากกว่า มีรายได้มากกว่า ระยะเวลาการอยู่อาศัยนานกว่ารูปแบบอื่น ทำให้มีความเข้าใจ มีความรักผูกพันต่อชุมชน ส่วนกรณีกรรมการชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชนค่อนข้างน้อย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชนน้อย ทำให้ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการชุมชนน้อยตามไปด้วย เนื่องจากผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ยังไม่มีความรัก ความผูกพันต่อชุมชน ข้อเสนอแนะ เนื่องจากพบว่าผู้อยู่อาศัยและกรรมการองค์กรชุมชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชน และขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การเคหะแห่งชาติจึงควรเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดประสบการณ์จากชุมชนที่มีการบริหารจัดการในรูปแบบต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาก่อนแก่ชุมชนที่ตั้งใหม่ เพื่อให้ชุมชนที่ตั้งใหม่ได้มีโอกาสศึกษาข้อดีข้อจำกัดของการบริหารจัดการแต่ละรูปแบบจนสามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชนของตนเองได้ จากนั้นจึงเรียนรู้โดยมีชุมชนเดิมและการเคหะแห่งชาติเป็นพี่เลี้ยงจนมีความเข้มแข็งพอที่จะบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง และใช้กิจกรรมจากการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้รู้จักกัน และสามารถเลือกผู้นำชุมชนที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The management of the Baan Eua-Arthorn Housing Project falls into three forms, namely a condominium juristic person, a Baan Eua-Arthorn cooperative, and a community committee establishment. This research aimed to examine these three types of management with the assumption that the residents’ understanding of effective community management would increase their participation in the process, thereby enhancing operation results. Another objective of the study was to provide guidelines for the management of the Baan Eua-Arthorn Housing Project so as to enable a community to be self-reliant. The data were collected using related documents, case studies of three Baan Eua-Arthorn Housing Projects, field observation, a resident interview questionnaire, community committee member interviews, and interviews with administrators and personnel at the National Housing Authority. The results showed that for the first form of management, the residents had a moderate degree of understanding of and participation in the process. Nevertheless, they were satisfied with the management of the juristic person of their condominium. As for the second type, Baan Eua-Arthorn cooperatives were organizations having a thorough understanding of community management, thus involving the residents in the process to a great extent. The residents taking part in this type of management also lived in their community for a longer period and had a higher income. Therefore, the operation results were relatively more productive in comparison with the other kinds of management. With regards to committee member establishments, it was found that they had little understanding of community management. Coupled with the fact that the majority of the residents at the Baan Eua-Arthorn Housing Projects were newcomers with little bonds with their community, their involvement in the management process was not substantial, thus leading to intangible operation results. It is recommended that due to the lack of understanding of community management among the residents and committee members and the weak relationships between the two groups, the National Housing Authority should support holding workshops in which the residents of an older, more well-established project share their experiences with those from a newly built project. Thus, the latter will have a chance to examine the strengths and weaknesses of each form of management before being able to choose one that is suitable for their own community. Also, the residents of a more experienced project and the National Housing Authority should serve as mentors until those at a new project are strong enough to be self-dependent. Finally, community management learning activities should be used as a tool to build the bonds among the members of a community and choose a suitable community leader. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28897 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1567 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1567 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
soparporn_ro.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.