Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28949
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สุคนธทรัพย์-
dc.contributor.authorสโรชา สุทธิจิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-02-19T09:52:04Z-
dc.date.available2013-02-19T09:52:04Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28949-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อความอ่อนตัวและการทรงตัวของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อายุ 60 – 83 ปี จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองให้ออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตตามปกติ ผู้วิจัยทำการทดสอบความอ่อนตัว และการทรงตัวของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (analysis of covariance) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (one-way analysis of variance with repeated measures) พบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีของ แอลเอสดี (LSD) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวของลำตัว ความอ่อนตัวของข้อไหล่ ความอ่อนตัวของข้อสะโพก และการทรงตัวทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวของลำตัว ความอ่อนตัวของข้อไหล่ ความอ่อนตัวของข้อสะโพก และการทรงตัวทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง ความอ่อนตัวของลำตัว ความอ่อนตัวของข้อไหล่ ความอ่อนตัวของข้อสะโพก และการทรงตัวทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ ก่อนการทดลองกับหลังการทดลอง 6 สัปดาห์และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เป็นการออกกำลังกายที่สามารถเพิ่มความอ่อนตัวและการทรงตัวของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นได้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of Ruesee-Dudton exercises on flexibility and body balance of the elderly. The samples consisted of 40 elderly volunteers, 60-83 years of age, from Amphur U-thong, Supanburi Province. The volunteers were chosen by simple random sampling which consisted of 20 volunteers in the experimental group and 20 volunteers in the control group. The experimental group performed the Ruesee-Dudton exercise program for 12 weeks, 3 days a week, and 50 minutes a day while the control group performed their normal daily routines. The researcher examined the flexibility and balance of the experimental and control groups before experimenting, after 6 weeks of experimenting, and after 12 weeks of experimenting. The obtained data were analyzed in terms of means, standard deviations, analysis of covariance, and one-way analysis of variance with repeated measures. If there was a difference in one-way analysis of variance with repeated measures then the data are compared the differences by pair using LSD by analyzing statistical significances at the level p< .05. The results were as follows: 1.After 6 weeks of experimenting, the mean of flexibility of the body, shoulder, hip, and body balance either in static balance and dynamic balance of the experimental group was significantly different from the control group at the level p< .05. 2.After 12 weeks of experimenting, the mean of flexibility of the body, shoulder, hip, and body balance either in static balance and dynamic balance of the experimental group was significantly different from the control group at the level p< .05. 3.When comparing within the experimental group, it was found that flexibility of the body, shoulder, hip, and body balance either in static balance and dynamic balance before experimenting, after 6 weeks of experimenting, and after 12 weeks of experimenting was significantly different at the level p< .05. The result of this study showed that performing the Ruesee-Dudton exercise will increase flexibility and body balance of the elderly.en
dc.format.extent2916093 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.583-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.subjectฤาษีดัดตนen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- แง่สรีวิทยาen
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุen
dc.titleผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อความอ่อนตัวและการทรงตัวของผู้สูงอายุen
dc.title.alternativeThe effects of Ruesee-Dudton exercises on flexibility and body balance of the elderlyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.583-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarocha_su.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.