Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28957
Title: | แนวทางออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส ราชเทวี และย่านพาณิชยกรรมประตูน้ำ |
Other Titles: | Design guidelines for the development of the areas around BTS’s Ratchathewi station and Pratunam commercial district |
Authors: | พรสิริ สายด้วง |
Advisors: | อังสนา บุณโยภาส จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การพัฒนาที่ดิน การพัฒนาชุมชนเมือง ย่านการค้ากลางใจเมือง รถไฟฟ้า การขนส่งมวลชน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การหาแนวทางเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีบีทีเอสราชเทวีและย่านพาณิชยกรรมประตูน้ำ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองที่ไม่สอดคล้องกัน โดยใช้ศักยภาพของระบบขนส่งมวลชนระบบรางช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่เกิดปัญหานั้น โดยทำการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากรถไฟฟ้าบีทีเอสและเสนอแนะการพัฒนาชุมชนที่ตอบสนองต่อบริบทของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้พักอาศัยในพื้นที่และคนภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ และเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อของระบบขนส่งมวลชนอื่นๆในพื้นที่อีกด้วย โดยในเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและขั้นตอนต่างๆในการพัฒนาเมืองอันมีระบบการสัญจรเป็นปัจจัยหลักเพื่อหาแนวโน้มในอนาคต การศึกษาจะประกอบด้วยการประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากการใช้ภาพถ่ายทางอากาศหลายๆปีมาวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเข้าถึงและระบบการสัญจร และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ว่างภายในพื้นศึกษา ร่วมกับการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบพื้นที่ดังกล่าวต่อไป ซึ่งพบว่าปัจจัยที่สำคัญคือ การเข้าถึงพื้นที่ไม่ว่าจะด้วยการสัญจรแบบใดก็ตาม การพัฒนาจะขยายตัวไปตามพื้นที่ที่มีการเข้าถึงสะดวก ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาเกิดกระจุกตัวอยู่ตามแนวถนนสายหลัก คือ ถนนราชประสงค์และถนนพระรามที่ 1 ต่างกับพื้นที่ด้านในบริเวณริมคลองแสนแสบ ที่เข้าถึงยากจึงไม่มีการพัฒนา อันเป็นสาเหตุหลักของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงทำให้การใช้ที่ดินแบบผสมผสานระหว่างพาณิชยกรรมกับที่พักอาศัยเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพ ด้วยปัญหาข้างต้นจะต้องวางแนวทางออกแบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาของระบบขนส่งมวลชนระบบรางและโครงการต่างๆที่จะมีอิทธิพลต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศึกษาในอนาคต ซึ่งการกำหนดแนวทางการออกแบบครั้งนี้ใช้แนวคิดและหลักการ เรื่อง การพัฒนาชุมชนเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรม แบบผสมผสาน และการออกแบบเมืองกระชับ ผลการศึกษาได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีบีทีเอสราชเทวีและย่านพาณิชยกรรมประตูน้ำ ให้มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเมืองในอนาคตและผสมผสานไปกับพื้นที่ชุมชนเดิมโดยกำหนดนโยบายการพัฒนาเป็น 4 ส่วนคือ 1)เพิ่มความหนาแน่นของการพัฒนาบริเวณสถานีบีทีเอสราชเทวีและบริเวณริมคลองแสนแสบ 2)สร้างความแตกต่างของกลุ่มกิจกรรมให้รองรับและส่งเสริมพื้นที่โดยรอบ 3)เชื่อมพื้นที่บริเวณสถานีบีทีเอสราชเทวีและย่านพาณิชยกรรมประตูน้ำด้วยการสัญจรทางเท้าและจักรยาน 4)สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมการค้าบริเวณแยกราชประสงค์กับโครงการมักกะสัน โดยเน้นการพัฒนาใน 3 ประเด็น คือ การใช้ประโยชน์พื้นที่ การเข้าถึงและการสัญจร และพื้นที่ว่าง พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการปฏิบัติที่เป็นลำดับขั้นตอนรวมถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อให้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการใช้งานต่อไปได้ |
Other Abstract: | The main purpose of this research is to recommend the urban development guidelines for areas around BTS Ratchathewi Station and Pratunam Commercial Area that have been impacted from inappropriate change and urban development by using potential of rail mass transit system to stimulate development in these areas. This study has explored the changes that driven by this mode of transportation and suggest the type of urban development that is not only respond to the changing situation but also can help to improve quality of life for the resident and non-resident users, as well as, focus on increasing efficiency of linkage to other mass transit systems within the study area. In order to understand all factors affecting changes in urban growth and urban development with transportation as a key fact, and to be able to forecast future trend, this study has included site assessment using aerial photographs from different years to compare the changes in land use, circulation pattern, and open spaces. The site survey, observation, and interview with the users were conducted to analyse the existing problems and potential for development. The survey concluded that one of the major factors catalyzing changes for Ratchathewi and Pratunam areas is the site accessibility by any mode of transportation. Most of developments have occurred heavily along Ratchaprasong and Rama 1 road, main roads which have easy access, on the contrary, the hinterland along Saensaep canal have less development due to difficult access. The development gap between these two areas has prohibited the full potential mixed use of the commercial and residential areas. Therefore, the urban design guidelines for these areas have to be compatible with the development of rail mass transit system and the important projects around the site. This study has applied the concept of urban development for better quality of life, mixed commercial land use and compact city as the model for Ratchathewi and Pratunam urban areas development. The study has recommended development guidelines for areas around BTS Ratchathewi Station and Pratunam Commercial Area compatible with urban design trend and existing communities with 4 policies 1) increase density around BTS Ratchathewi Station and along Saensaep canal 2) create different activities groups to support development and its user 3) create linkage between BTS Ratchathewi Station and Pratunam Commercial Area using pedestrian and bicycle path 4) link trading activities between Ratchaprasong intersection and Makasan Airport Rail Link. The recommendations have focused on 3 main issues; land use, circulation and open space, including implementation procedures and all concerned stakeholders for the success of the study area’s urban development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28957 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.128 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.128 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ponsiri_sa.pdf | 23.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.