Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29019
Title: | การเพิ่มมูลค่าของการแสดงพื้นบ้านรำมังคละ จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Increasing value of Rammangkhala Authenticity Performance in Phitsanulok province |
Authors: | กัญญ์ณณัฐ เลิศอริยโภคิน |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ, |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเต้นรำพื้นเมือง -- ไทย -- พิษณุโลก รำมังคละ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ วิธีการจัดการแสดงพื้นบ้านรำมังคละ จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาบทบาท และวิเคราะห์การเพิ่มมูลค่าของการแสดงพื้นบ้านรำมังคละ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความ การสัมภาษณ์ สอบถาม และสังเกตจาก วงมังคละของชาวบ้านจำนวน 3 วง ได้แก่ วงทองอยู่ ลูกพลับ ของนายประโยชน์ ลูกพลับ วงเจริญไผ่ขอดอนของนายถนัด ทองอินทร์ และวงย้วนพรหมศิลป์ของนายย้วน เขียวเอี่ยม ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการแสดงพื้นบ้านรำมังคละ ประกอบด้วย ผู้แสดง ทำนองและดนตรี ท่ารำและกระบวนรำ เครื่องแต่งกาย โอกาสที่แสดง ทั้งหมดนี้มีการเชื่อมโยงของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกลักษณ์ การสร้างสรรค์ของชุมชนผ่านการแสดง ซึ่งเรียกว่า ความเป็นของแท้ (Authenticity) ส่วนบทบาทของรำมังคละแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) บทบาทในองค์ประกอบของพิธีกรรมและประเพณี 2)บทบาทด้านการแสดง แบ่งออกเป็นการแสดงบนเวทีและการแสดงเพื่อการแข่งขัน บทบาทดังกล่าวก่อให้เกิดการผลิตของวัฒนธรรมที่เรียกว่า การผลิตซ้ำ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การแสดงยังคงปรากฏอยู่ ปัจจุบันรำมังคละได้ถูกเพิ่มบทบาทด้านการแสดงเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “การแสดงพื้นบ้านรำมังคละ” รูปแบบของการแสดงได้ถูกปรับให้สอดรับกับวัฒนธรรมในสังคมเพื่อการอยู่รอด ซึ่งเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “พลวัต” การเพิ่มมูลค่าของการแสดงพื้นบ้าน รำมังคละได้ใช้คุณค่าและความหมายเป็นสื่อผ่านทางการแสดง โดยได้แบ่งคุณค่าออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางด้านสังคม คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม และคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาศัยกระบวนการเพิ่มมูลค่าจากทฤษฎีห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่มีกระบวนการเป็นขั้นตอน อาทิ ระบบการจัดการ และกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับคุณค่าของการแสดง ตลอดจนการติดต่อประชาสัมพันธ์หรือช่องทางจำหน่าย โดยอาศัยกระบวนการ POLC 4Ps SWOT Analysis และ STP ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกันอยู่หากขาดคุณค่าด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้วัฒนธรรมนั้นสูญหายได้ ดังนั้น การสร้างมูลค่าเพิ่มของการแสดงพื้นบ้านรำมังคละ จึงเป็นสื่อกลางทางเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชุมชน ในการสร้างคุณค่าให้กับวัฒนธรรมในท้องถิ่น ให้เกิดการอนุรักษ์ สืบทอด ปรับ/ประยุกต์ และเผยแพร่ต่อไป |
Other Abstract: | This research aims to investigate the element and the management procedure of Rammangkhala Authenticity Performance in Phitsanulok Province, and to analyze the increasing value of Rammangkhala Authenticity Performance in Phitsanulok Province. This study is the qualitative research which data from documents, journals, interviews, questionnaires and observations from 3 Rammangkhala Bands of the villagers in Phitsalulok Province which are Thongyoo Band – Look Plub of Mr. Prayot Lookplub, Charoen Phai Khor Don Band of Mr. Thanud Thong-In, and Yuanpromsil Band of Mr. Yuan Khiew-Eam, were collected. The research result found that the element of Rammangkhala Authenticity Performance contains performers, melody, music, dance steps, costumes and performance occasion. All of these are the links of the culture and the local wisdom. The characteristic and the creativity of the community have shown through their performance called Authenticity. The role of the performance leads to the production of culture called The Repetition. That’s why the performance remains nowadays. Recently Rammangkhala has been added more value in the aspect of the performance of cultural product called “Rammangkhala Authenticity Performance”. The performance has been adjusted to comply with the recent social culture in order to survive. This spectacle is called “Polwat”. Adding value of Rammangkhala Authenticity Performance uses its value and meaning through its performance divided into 3 aspects, which are social value, cultural value and economic value. All are based from the value adding of Value Chain containing steps of management system and other related activities, etc. including the public relation or the channel of distribution based on the procedure of POLC 4Ps SWOT Analysis and STP, which are all related and consistent. If lost any aspect of value, that particular culture would have been lost. Therefore, adding value of Rammangkhala Authentic Performance is taking a role as intermediary of characteristics and culture within the community, in order to create value and local culture as well as to preserve, inherit, adapt/apply and discriminate in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการทางวัฒนธรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29019 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1589 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1589 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kannanuth_le.pdf | 5.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.