Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29073
Title: | ผลของหัวเชื้อเส้นใยเห็ดเผาะ Astraeus spp. ต่อการสร้างไมคอร์ไรซาและการกระตุ้นการเติบโตของกล้าไม้ยางนา |
Other Titles: | Effects of Astraeus spp. mycelial inocula on mycorrhizal formation and growth stimulation of Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don seedlings |
Authors: | วรณิสร์ กลิ่นทอง |
Advisors: | จิตรตรา เพียภูเขียว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เห็ดเผาะฝ้าย ยางนา -- การเจริญเติบโต สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เห็ดเผาะฝ้าย (Astraeus asiaticus) และเห็ดเผาะหนัง (A. odoratus) เป็นราเอคโตไมคอร์ไรซาของไม้วงศ์ไม้ยาง ซึ่งเป็นไม้ที่สำคัญของป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบันการปลูกป่าไม้วงศ์ไม้ยางมักจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดราเอคโตไมคอร์ไรซาอาศัยอยู่ร่วมด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวิธีการใส่หัวเชื้อเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการปลูกป่า ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างดอกเห็ดเผาะจากแหล่งต่างๆในประเทศไทย มาทำการแยกเส้นใยให้บริสุทธ์ได้ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนัง 45 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์ ตามลำดับ จากนั้นคัดเลือกสายพันธุ์ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะเพื่อใช้ในการผลิตหัวเชื้อ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนังที่มีการเจริญดีที่สุดบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA เมื่ออายุ 14 วัน คือสายพันธุ์ KANII6 และ TAK8 ตามลำดับ ทำการหาชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อและค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ พบว่าเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะฝ้ายสายพันธุ์ KANII6 และเห็ดเผาะหนังสายพันธุ์ TAK8 มีการเจริญดีที่สุดในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด MMN ที่มีค่า pH 5.5 โดยมีน้ำหนักแห้งของเส้นใยเมื่ออายุครบ 35 วันเป็น 1.95 และ 2.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อประเมินผลของวิธีการใส่หัวเชื้อเส้นใยรูปแบบต่างๆ คือ เส้นใยแขวนลอย เส้นใยเจริญในวัสดุผสมเวอร์มิคูไลท์และพีทมอส เส้นใยเจริญในวัสดุผสมขุยมะพร้าวและแกลบ และเส้นใยที่ทำให้อยู่ในเม็ดแคลเซียมอัลจิเนต ที่มีต่อการติดเชื้อไมคอร์ไรซาและการกระตุ้นการเติบโตของกล้าไม้ยางนาเมื่ออายุ 8 เดือน พบว่า ในชุดควบคุมที่ไม่ได้ใส่หัวเชื้อ ไม่พบการติดเชื้อไมคอร์ไรซา สำหรับเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไมคอร์ไรซาของราเอคโตไมคอร์ไรซาทั้งสองสายพันธุ์มีค่าใกล้เคียงกันโดยชุดการทดลองที่ใส่หัวเชื้อเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะฝ้ายสายพันธุ์ KANII6 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไมคอร์ไรซา 5.67 – 13.44 % สำหรับชุดการทดลองที่ใส่หัวเชื้อเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะหนังสายพันธุ์ TAK8 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไมคอร์ไรซา 5.33 – 14.78% และพบว่าชุดการทดลองที่ใส่หัวเชื้อแบบเส้นใยเจริญในวัสดุผสมขุยมะพร้าวและแกลบกับวัสดุปลูกในอัตราส่วน 1:6 ของแต่ละสายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไมคอร์ไรซาสูงที่สุด ราเอคโตไมคอร์ไรซาทั้งสองสายพันธุ์สามารถกระตุ้นการเติบโตของกล้าไม้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อมีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อมากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และกล้าไม้ที่ได้รับหัวเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะหนังสายพันธุ์ TAK8 แบบเส้นใยเจริญในวัสดุผสมขุยมะพร้าวและแกลบกับวัสดุปลูกในอัตราส่วน 1:6 และ 1:3 โดยปริมาตร มีการเติบโตทางความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น มวลชีวภาพเหนือดิน มวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพรวมสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อมีความแปรผันขึ้นอยู่กับปริมาณของหัวเชื้อและวิธีการใส่หัวเชื้อรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ขุยมะพร้าวและแกลบเป็นทางเลือกสำหรับใช้เป็นวัสดุในการผลิตหัวเชื้อเส้นใยทางการค้าได้เนื่องจากหาได้ง่ายและมีราคาถูก |
Other Abstract: | Astraeus asiaticus and A. odoratus are edible ectomycorrhizal fungi associated with dipterocarp tree. Dipterocarpaceae is commercial hardwoods and important to tropical forest ecosystem in South East Asia especially in Thailand. Dipterocarp plantations are now not quite successful due to poor ectomycorrhizal association there is a need to develop inoculation programs for forest nurseries. In this study, 45 strains of Astraeus asiaticus and 9 strains of A. odoratus collected from various localities in Thailand were isolated and cultured on PDA medium. A. asiaticus strain KANII6 and A. odoratus strain TAK8 were selected for inoculum production based on giving the highest colony growth rate on PDA medium at 14 days. The effects of different media and pH on growth from both strains were studied with the aim of improving mycelial production. Among media and pH tested, MMN medium at pH 5.5 was found to be the best medium and pH for the both strains with the maximum mycelial dry weight of 1.95 mg/ml in A. asiaticus strain KANII6 and those of 2.17 mg/ml in A. odoratus strain TAK8 at 35 days. The effects of different inoculation techniques (mycelial suspension, mycelial inoculum grown in peat-vermiculite, mycelial inoculum grown in coconut dust-rice husk, alginate-entrapped mycelium) of both strains on mycorrhizal formation and growth stimulation of 8- months-old Dipterocarpus alatus seedlings were also evaluated. The results showed that no mycorrhizal infection was found in noninoculation treatments. The percentage of mycorrhizal infection showed similar values for both fungal species. The percentage of infection in treatments inoculated with the strain KANII6 was ranging from 5.67% to 13.44 %. The strain TAK8 colonized seedling roots ranging from 5.33% to 14.78%. The seedlings inoculated with mycelia inoculum grown in coconut dust-rice husk mixed with growing medium in a proportion 1:6 (v/v) of both strains had the highest percentage of infection. The both strains significantly stimulated growth of D. alatus seedlings having mycorrhizal colonization > 12%. The seedlings inoculated with mycelia inoculums of fungal strain TAK8 grown in coconut dust-rice husk mixed with growing medium in proportion 1:6 and 1:3 (v/v) had shoot height, stem diameter, shoot and root dry weight and total biomass significantly greater than non-inoculated seedlings. The results in this study indicated that the seedling colonization level was very variable depending on inoculums dose and inoculation techniques. Moreover coconut dust and rice husk are promising alternative substrates for commercial mycelial inoculum production because of their availability and cheapness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29073 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1985 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1985 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
woranit_kl.pdf | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.